วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Christmas tree history



Did a celebration around a Christmas tree on a bitter cold Christmas Eve at Trenton, New Jersey, turn the tide for Colonial forces in 1776? According to legend, Hessian mercenaries were so reminded of home by a candlelit evergreen tree that they abandoned their guardposts to eat, drink and be merry. Washington attached that night and defeated them.
The Christmas tree has gone through a long process of development rich in many legends, says David Robson, Extension Educator, Horticulture, with the Springfield Extension Center.
Some historians trace the lighted Christmas tree to Martin Luther. He attached lighted candles to a small evergreen tree, trying to simulate the reflections of the starlit heaven -- the heaven that looked down over Bethlehem on the first Christmas Eve.
Until about 1700, the use of Christmas trees appears to have been confined to the Rhine River District. From 1700 on, when lights were accepted as part of the decorations, the Christmas tree was well on its way to becoming a tradition in Germany. Then the tradition crossed the Atlantic with the Hessian soldiers.
Some people trace the origin of the Christmas tree to an earlier period. Even before the Christian era, trees and boughs were used for ceremonials. Egyptians, in celebrating the winter solstice -- the shortest day of the year -- brought green date palms into their homes as a symbol of "life triumphant over death". When the Romans observed the feast of saturn, part of the ceremony was the raising of an evergreen bough. The early Scandinavians were said to have paid homage to the fir tree.
To the Druids, sprigs of evergreen holly in the house meant eternal life; while to the Norsemen, they symbolized the revival of the sun god Balder. To those inclined toward superstition, branches of evergreens placed over the door kept out witches, ghosts, evil spirits and the like.
This use does not mean that our Christmas tree custom evolved solely from paganism, any more than did some of the present-day use of sighed in various religious rituals.
Trees and branches can be made purposeful as well as symbolic. The Christmas tree is a symbol of a living Christmas spirit and brings into our lives a pleasant aroma of the forest. The fact that balsam fir twigs, more than any other evergreen twigs, resemble crosses may have had much to do with the early popularity of balsam fir used as Christmas trees
.

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Christmas Day History











Christmas is always observed on December 25th.
Christmas is a Christian holiday celebrating the birth of Jesus Christ. Decorating houses and yards with lights, putting up Christmas trees, giving gifts, and sending greeting cards have become traditions even for many non-Christian Americans.
In the third century, efforts were made to find out the date of the Nativity, but only in the year 336 was the date of the December 25 festival set in commemoration of Jesus' birth. Pope Julius formally selected December 25 as the day of Christmas in 349 A.D.
Roman Catholics, Lutherans, members of the Dutch Reformed and Anglican churches, and those of the German sects were most responsible for establishing Christmas traditions in America. Christmas customs spread with the westward expansion of the United States and by the late 1800s had become firmly entrenched in American society.
The Christmas Tree is a German tradition, started as early as 700 A.D. In the 1800s the tradition of a Christmas tree was widespread in Germany, then moved to England and then to America through Pennsylvanian German immigrants. In Victorian times, people had already started decorating trees with candies and cakes hung with ribbon. In 1880, Woolworths first sold manufactured Christmas tree ornaments, and they caught on very quickly. Martin Luther, in the 16th century, is credited as being the first person to put candles on a tree, and the first electrically lighted Christmas tree appeared in 1882. In 1923, Calvin Coolidge ceremoniously lit the first outdoor tree at the White House.
Santa Claus started with a real person, Saint Nicholas, a minor saint from the fourth century. Nicholas' reputation for generosity and kindness gave rise to legends of miracles he performed for the poor and unhappy. In the Middle Ages, devotion to Nicholas extended to all parts of Europe, but eventually faded in all the Protestant countries of Europe except Holland, where his legend persisted as Sinterklaas (a Dutch variant of the name Saint Nicholas). Dutch colonists took this tradition with them to New Amsterdam (now New York City) in the 17th century. Sinterklaas was adopted by the country's English-speaking majority under the name Santa Claus, and his legend of a kindly old man was united with old Nordic folktales of a magician who punished naughty children and rewarded good children with presents.

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

10 ของขวัญจาก "เชื้อรา" ที่มอบให้มนุษย์



















เอ่ยคำว่า "เห็ด" หลายคนนึกถึงเมนูอาหารจานเด็ด และยิ่งน้ำลายสอเมื่อเป็นเห็ดโคน เห็ดหลินจือ หรือเห็ดทรัพเฟิล และอีกสารพัดเห็ดที่ไม่ใช่เห็ดพิษ แต่หากขึ้นชื่อว่า "รา" ทำเอาทุกคนรู้สึกเข็ดขยาดไม่กล้าเข้าใกล้ และนึกกลัวติดโรคร้ายจากเชื้อรา ทว่า "เห็ดรา" เป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเดียวกัน ที่มีทั้งคุณประโยชน์และโทษที่ไม่น่าพิศมัย
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเห็ดราอย่างลึกซึ้งนั้นมีไม่มาก ขณะที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาจมีคุณประโยชน์อีกมากมายต่อมนุษย์ที่ยังไม่มีใครค้นพบ และนักวิทยาศาสตร์อังกฤษก็เกิดความกังวลว่าเราจะพลาดโอกาสดีๆ เหล่านั้นไป ดังที่ ดร.ปีเตอร์ โรเบิร์ตส (Dr. Peter Roberts) ผู้วชาญด้านเห็ดรา สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว (Royal Botanic Gardens, Kew) สหราชอาณาจักร ได้ยก 10 ตัวอย่างที่เห็ดและรา (Fungi) นานาชนิดมอบให้เป็นของขวัญแก่มนุษย์ ตามรายงานจากบีบีซีนิวส์ว่ามีดังนี้
1. มาร์ไมต์ (Marmite) ครีมข้นหนืด สีน้ำตาลเข้ม รสเค็ม สำหรับทาขนมปัง ซึ่งเป็นที่นิยมในอังกฤษและอีกหลายชาติในยุโรป มาร์ไมต์ผลิตจากสารสกัดจากยีสต์ที่เหลือจากอุตสากรรมการหมักเบียร์ ซึ่งยีสต์ก็จัดเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวกับเห็ดและรา ในออสเตรเลียเรียก ดิตโต เวจจิไมต์ (Ditto Vegemite) ส่วนชาวสวิสเรียก เซโนวิส (Cenovis)
2. เบียร์ และขนมปัง (Beer and bread) อาหารหลักของชาวอังกฤษ ทั้ง 2 อย่างนี้มียีสต์เป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการผลิต ในการหมักเบียร์โดยทั่วไปจะใช้ยีสต์ชนิด แซคคาโรไมซีส เซเรวิซิอี (Saccharomyces cerevisiae) หรือบรูเวอร์สยีสต์ (Brewer's yeast) ถ้าเป็นเบียร์สดมักหมักด้วยยีสต์ชนิด แซคคาโรไมซีส คาร์ลสเบอร์เจนซิส (Saccharomyces carlsbergensis) ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิทย์ชาวเดนมาร์ก ส่วนไวน์ เหล้าแอปเปิล และเหล้าแพร์ หมักด้วยยีสต์ธรรมชาติได้หลากหลายสายพันธุ์
3. ควอร์น (Quorn) อาหารที่ใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งอาจไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป แต่นิยมรับประทานกันมากในหมู่ผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ เช่น ไส้กรอกไก่เทียม ที่ทำจากเส้นใยของเชื้อรา มีการผลิตควอร์นออกจำหน่ายเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี 2528 หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาค้นคว้ามานานนับสิบปีตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 50 และ 60 ด้วยความกลัวที่ว่าในอนาคตจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารประเภทโปรตีน
4. กล้วยไม้ เป็นไม้ดอกเขตร้อน ที่นิยมนำไปประดับประดาเพิ่มความสวยงามสดชื่นในโรงแรมและสถานที่ต่างๆ ซึ่งในการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของกล้วยไม้จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเชื้อราเป็นตัวช่วย
5. คาเมมเบิร์ต (camembert) ครีมชีสที่ผลิตจากรา รวมทั้งซอสถั่วเหลือง และมิโสะ (เต้าเจี้ยว) ที่ต้องหมักด้วยจุลินทรีย์จำพวกรา เหล่านี้ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้ถูกปากถูกใจนักชิมยิ่งขึ้น
6. เชื้อราช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดิน โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้ผุพัง ซึ่งราช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุจำพวกเซลลูโลสได้เป็นอย่างดี ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เพราะการย่อยสลายทำให้ได้ธาตุอาหารหมุนเวียนกลับสู่ระบบนิเวศน์กว่า 90% และเชื้อราเป็นจุลชีพเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สามารถย่อยลิกนินได้
7. สเตติน (Statin) ยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เป็นสารที่แยกได้จากเชื้อรา โมนาสคัส รูเบอร์ (Monascus ruber) และเพนิซีเลียม ซิเตรียม (Penicillium citrinum) สเตตินจะไปมีผลยับยั้งเอนไซม์สำคัญ (HMG-CoA reductase) ของกระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งจะไปมีผลกระตุ้นการทำงานของแอลดีแอลรีเซพเตอร์ (LDL receptor) ให้เพิ่มการกำจัดแอลดีเอล (low-density lipoprotein: LDL) ออกจากกระแสเลือด เป็นผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงด้วยเช่นกัน
8. เพนิซิลิน (Penicillin) ยาปฏิชีวนะที่สกัดแยกครั้งแรกได้จากเชื้อรา เพนิซิเลียม ไครโซจีนัม (Penicillium chrysogenum) ซึ่งในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ ที่ค้นพบในภายหลังก็เป็นสารที่แยกได้จากเชื้อราเช่นกัน ซึ่งการค้นพบเพนิซิลินครั้งแรกในปี 2471 โดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming) เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการแพทย์ อันส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 2488
9. แอลเอสดี (Lysergic acid diethylamide: LSD) ยาหลอนประสาทชนิดรุนแรง เป็นสารอนุพันธ์ของกรดไลเซอร์จิก (lysergic acid) ที่แยกได้จากเชื้อรา คลาวิเซพส์ เพอร์พูเรีย (Claviceps purpurea) ค้นพบครั้งแรกในปี 2481 โดยอัลเบิร์ต ฮอฟแมนน์ (Albert Hofmann) นักเคมีชาวสวิส ต่อมาภายหลังแอลเอสดีถูกจัดให้เป็นสารเสพติดให้โทษที่มีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างแรง
10. โรคน้ำกัดเท้า (athlete's foot), เชื้อราในปาก (thrush) และกลากเกลื้อน (ringworm) อันมีสาเหตุมาจากเชื้อรา และคงจะเป็นเรื่องที่น่าขอบคุณน้อยยิ่งนักสำหรับสิ่งนี้ที่เชื้อรามอบให้กับพวกเรา.


วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้ : หน้าหนาว หมอเตือน!ระวังเลือดหนืด

อย่างที่เรารู้กันนะคะว่าในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำให้เจ็บป่วยง่าย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ รวมถึงปอดบวมด้วย
โดยอาการเบื้องต้นของโรคเหล่านี้ จะมีอาการคอจะแห้ง เจ็บคอ เพราะฤดูหนาวอากาศแห้ง ฝุ่นละอองมาก โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องสวมเสื้อผ้าให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ
ทั้งนี้ทาง นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาแจ้งเตือนถึงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวว่า "สภาพอากาศที่มีความหนาวเย็น หากใส่เสื้อผ้าให้ความอบอุ่นร่างกายไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อาจทำให้ช็อคเสียชีวิตได้ เนื่องจากความเย็นจะทำให้เลือดมีความหนืด หัวใจต้องทำงานสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายหนักขึ้น ที่น่าห่วงก็คือเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ที่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่นๆ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตสูงที่สุด เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายของเด็กยังทำงานไม่เต็มที่ อุณหภูมิร่างกายเด็กจึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามสภาพอากาศ ในปีที่ผ่านมีรายงานเสียชีวิตแล้ว 1 ราย"
นอกจากนี้ทางสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ยังให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องระวังในช่วงฤดูหนาวอีกเรื่องหนึ่งคือ ความเปียกชื้น โดยการอาบน้ำหรือชำระล้างตัวเด็ก ควรใช้น้ำอุ่นๆ และอาบน้ำในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก เลือกเวลาที่อากาศไม่เย็นมาก เช่น ตอนบ่าย ส่วนในเด็กเล็กให้หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อม เมื่อเด็กปัสสาวะหรืออุจจาระเปียกแฉะ นอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทแป้งและไขมัน เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ติดมัน ซึ่งจะช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย เด็กทารกควรให้กินนมแม่เพราะนอกจากเด็กจะได้รับภูมิต้านทานโรคจากนมแม่แล้ว การที่แม่โอบลูกขณะกินนมยังสร้างความอบอุ่นให้กับเด็กด้วย ส่วนเด็กโตนอกจากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ริมฝีปากและผิวหนังไม่แห้งแตก

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้ : ปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

อยากรู้มั้ย ว่าแต่ละตำแหน่งหมายถึงอะไร ค้นหาคำตอบได้ที่นี่
โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
สำหรับฝรั่ง เขาจะถือว่า เลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล หรือเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เดอะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย
แม้ว่าเลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้
สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้


หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่
-ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
-ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
-ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9 -ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง
การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ
-ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
-ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12
-ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133
ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7
คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้
ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ
หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที
สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ
เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548
ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การเพิ่มความสุขให้ชีวิต


















เพิ่มความสุขให้กับชีวิตได้... ลงมือกันเลย! จูงมือกับความสุข แล้วก้าวเดินออกไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคุณ จะดีหรือแย่.. นั่นหมายความว่า คุณกำลังได้เรียนรู้ ที่จะหัวเราะกับสิ่งดีๆ ให้มากขึ้น และร้องไห้เสียใจกับสิ่งแย่ๆ ให้น้อยลง



วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รวมรูปพระจันทร์ยิ้ม(1 ธันวาคม 2551)






















ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม หรือ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนจะเกิด 2 ครั้งห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุก 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์(ดาวประจำเมือง) ดาวพฤหัสฯ และ ดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่าง ดาวอีก2ดวง และ อยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ปรากฏการณ์นี้จะมองเห็นได้ไม่นานนัก เพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา

เคยเกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนมาแล้ว 1 ครั้งในวันที่ 1 ก.พ. พ.ศ. 2551 และจะเกิดอีกครั้งในวันที่ 1 ธ.ค. พ.ศ. 2551 จากนั้น จะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงใกล้สว่างของ วันที่ 11 พ.ค. พ.ศ. 2554 และช่วงค่ำวันที่ 14 มี.ค. พ.ศ. 2555



 
body