วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้ : "สวรรคาลัย"อยู่ ณ แห่งหนใด






ความหมายของ "สวรรคาลัย" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง เสียชีวิต ซึ่งจะใช้แก่เจ้านายชั้นสูง นอกจากนี้แล้วคำๆ นี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการแต่งกลอน ส่วนการใช้คำว่า "ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย" ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า"สวรรคาลัยเป็นสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใดแต่ความจริงแล้วไม่ใช่ชื่อของชั้นของสวรรค์" ทั้งนี้หากแปลความหมายตรงๆหมายถึง "ส่งเสด็จไปสู่สวรรค์" นั่นเอง
สำหรับสวรรค์ในคติความเชื่อทางพุทธศาสนานั้น นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้เขียนหนังสือ ตามหาความจริงวิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม และถอดกฎพบกรรม ได้ยกตำราในพระไตรปิฎกมาอธิบายโดยเรียงจากชั้นล่างสุด ประกอบด้วย

1.ชั้นจาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นนี้อยู่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ประกอบด้วยเทวดาหลากหลายประเภท มีผู้ปกครอง 4 องค์ เรียก จตุโลกบาล โดยองค์แรกคือ ท้าวกุเวร หรือ เวสสุวรรณ อยู่ด้านทิศเหนือ ผู้ปกครององค์ที่ 2 คือ ท้าว วิฬุรหก อยู่ด้านทิศใต้ ผู้ปกครององค์ที่ 3 ชื่อ ท้าววิรูปักษ์ อยู่ทิศตะวันตก ผู้ปกครององค์ที่ 4 ชื่อ ท้าวธตรัฐ อยู่ทิศตะวันออก ปกครองพวก คนธรรพ์ รุกขเทวดา ภูมิเทวดา และ อากาสเทวดา สวรรค์ชั้นนี้ครอบคลุมตั้งแต่ พื้นโลกมนุษย์ขึ้นไปถึงระยะประมาณ 21,000 โยชน์ (คูณด้วย 16 จะออกมาเป็นกิโลเมตร )
2. ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่คนไทยคุ้นชื่อมากที่สุด และมีการพรรณนาถึงความงดงามของสวรรค์ชั้นนี้กันมากมาย ในชั้นนี้ มีสมเด็จพระอมรินทราธิราช หรือ พระอินทร์ เป็นผู้ปกครอง มีสวนสวรรค์อยู่ 4 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 4 ทิศ มีชื่อว่า นันทะ จิตรลดา สักกะ และ ผรุสกะ ส่วนที่ตั้งของชั้นดาวดึงส์ ก็อยู่สูงขึ้นไปจากโลก ประมาณ 42,000 โยชน์
3.ชั้นยามาเป็นสวรรค์ที่เพียบพร้อมด้วยความงาม และ ความสุข มากกว่าชั้นดาวดึงส์หลายเท่า ทิพยปราสาท เป็นเงิน และ ทอง มีรัศมีสว่างไสว กายทิพย์ของเทวดาเอง ก็มีรัศมีแผ่รอบกายเช่นกัน ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระสยามเทวาธิราช สำหรับสถานที่ตั้งก็อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีกประมาณ 42,000 โยชน์
4.ชั้นดุสิตสวรรค์ชั้นนี้ ชั้นดุสิตสวรรค์ชั้นนี้ ก็มีความงดงามตระการตาเพิ่มขึ้น จากสวรรค์ชั้นยามาอีกมากมาย ที่สำคัญก็คือสวรรค์ชั้นนี้ เป็นสถานที่ ที่พระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งใจบำเพ็ญบารมี เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะมาเกิดที่นี่
5.ชั้นนิมมานรดี สวรรค์นี้มีความงดงาม ประณีต เหนือกว่าสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไปอีก ซึ่งยากจะบรรยาย โดยใช้ภาษาที่พวกเราใช้กันตามปกติ เทพในชั้นนี้ รัศมีเรืองรองสว่างไสว และความพิเศษ ของเทพในชั้นนี้ก็คือ สามารถเนรมิตเอาอะไรก็ได้ ตามแต่ใจปรารถนา ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระสุนิมมิตเทวาธิราช
6.ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดในฝ่ายเทวโลก เป็นชั้นที่เทพผู้มาเกิด เสวยสุข ที่ละเอียดอ่อน ยิ่งกว่าชั้นอื่นใด อยากได้อะไร ก็จะมีเทพผู้เป็นบริวารมาคอยเนรมิตให้ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระปรนิมมิตวสวัตดีเทวาธิราช สถานที่ตั้งก็อยู่สูงขึ้นไปจาก สวรรค์ ชั้น นิมมานรดี อีกประมาณ 42,000 โยชน์


สวรรค์มีอยู่จริงหรือ?

ส่วนคำถามที่ว่ามีหลักฐานอะไรบ้างที่พอจะยืนยันได้ว่าสวรรค์มีจริงนั้น นายโอฬาร ได้เสนอเหตุผลดังนี้
1.ทุกศาสนา มีคำสอนเรื่องสวรรค์ทั้งนั้น รายละเอียดอาจแตกต่างกันไป ถ้าคิดว่าศาสดาทุกคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีบารมีสูง รวมกันแล้ว ทำให้คนทั้งโลกเชื่อ มีศรัทธาได้ แล้วทำไม สวรรค์จะมีจริงไม่ได้
2.ชาวพุทธ ถ้าเชื่อคำสอนพระพุทธเจ้า เชื่อกฎแห่งกรรมโดยลึกซึ้ง ก็จะต้องเชื่อการมีอยู่ ของ วัฏสงสารด้วย เพราะกฎแห่งกรรม ไม่สามารถทำงานครบถ้วน สมบูรณ์ ในชาติ (มนุษย์)เดียว ดังนั้น ชีวิตที่มีกายทิพย์อีก ๒๙ ภพภูมิ คือพวก นรก เปรต ผี เทวดา พรหม จึงต้องมีด้วย เพื่อรองรับการเวียนว่ายตายเกิด จากกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แต่ละคนทำขึ้น
3.คนทั่วโลกไม่ว่าสมัยใด และนับถือศาสนาใด มีคนเคยเห็นผีมามากมาย ทั้งด้วยตัวเอง และการถ่ายภาพ (ที่เคยเห็นเทวดามีบ้างแต่น้อย) ถ้าผี คือชีวิตที่มีกายทิพย์ค่อนข้างหยาบ เกือบซ้อนกับภพมนุษย์มีจริง ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เทวดา ซึ่งเป็นกายทิพย์ เช่นกัน แต่ละเอียด ประณีตกว่า จะมีจริงไม่ได้
4.ในทางวิทยาศาสตร์ แต่เดิมอะตอม คือสิ่งละเอียดที่สุด ต่อมาก็พบ นิวตรอน โปรตรอน อีเล็คตรอน และต่อมาก็พบ อนุภาคควอนตัม ที่เล็กกว่านั้นไปอีก ในปัจจุบัน มีทฤษฎี สตริง ที่กล่าวถึง อนุภาคพื้นฐานของจักรวาล ที่เล็กกว่า ควอนตั้ม อีก นับ ล้าน ล้าน ล้าน และอนุภาคละเอียดนี้ จะเกิดได้ในมิติอื่น ๆ นอกเหนือ 4 มิติ ที่เรารู้จักกัน (คำนวณว่าจักรวาล ต้องมี 10-26 มิติ จึงจะรองรับทฤษฎีนี้ได้) ทฤษฎีสตริงนี้ อาจนำไปสู่การพิสูจน์ การมีจริง ของชีวิตกายทิพย์ (หรือโอปปาติกะในพุทธศาสนา ที่อยู่คนละภพภูมิหรือคนละมิติ ถ้าใช้คำทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน)ในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้
*แต่สวรรค์นั้นมนุษย์มองไม่เห็น และสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 ไม่ได้ คนส่วนใหญ่จึงไม่เชื่อว่ามีจริง

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้ : มาดู..ต้นกำเนิดความหมายของ...สวัสดี


ความหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 สวัสดี หมายถึงความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง คำทักทาย หรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน
สวัสดี ในส่วนที่นำมาใช้เป็นคำทักทายนั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่า เจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูดเมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืน โดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง จึงขอให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น ช่วยคิดหาคำให้ ตกลงได้คำว่า "สวัสดี" ไปใช้ และเมื่อ พ.ศ. 2476 พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้นำไปเผยแพร่ให้นิสิต ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน จึงได้แพร่หลายใช้กันต่อมา
ครั้นต่อมาในยุคบำรุงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชาติ รัฐบาลในสมัยนั้น ก็เห็นชอบกับการใช้คำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่ได้พบกัน ได้มอบให้กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ออกข่าวประกาศเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2486 ดังต่อไปนี้ (ตัวสะกดและการันต์ในสมัยนั้น) "ด้วยพนะท่านนายกรัฐมนตรี ได้พิจารนาเห็นว่า เพื่อเปนการส่งเสริมเกียรติแก่ตนและแก่ชาติ ให้สมกับที่เราได้รับความยกย่องว่า คนไทยเปนอารยะชน คำพูดจึงเปนสิ่งหนึ่งที่สแดงภูมิของจิตใจว่าสูงต่ำเพียงใด ฉะนั้นจึงมีคำสั่งให้กำชับ บันดาข้าราชการทุกคนกล่าวคำ "สวัสดี" ต่อกันไนโอกาสที่พบกันครั้งแรกของวัน เพื่อเป็นการผูกไมตรีต่อกัน และฝึกนิสัยไห้กล่าวแต่คำที่เปนมงคล ว่าอะไรว่าตามกัน กับขอไห้ข้าราชการช่วยแนะนำ แก่ผู้ที่อยู่ไนครอบครัวของตนไห้รู้จักกล่าวคำ "สวัสดี" เช่นเดียวกันด้วย" นี่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ทางราชการในสมัยนั้นได้กำหนดให้ใช้คำว่าสวัสดี ไว้แล้วตั้งแต่ พ.ศ.2486 แต่ปัจจุบันนี้เยาวชนไทย เมื่อพบกันแทนที่จะใช้คำว่า "สวัสดี" กลับนำเอาคำผรุสวาทมาใช้แทน ซึ่งล้วนแต่ไม่เป็นมงคลแก่ตนเองทั้งสิ้น นับเป็นความเสื่อมทางวัฒนธรรมด้านภาษา และจิตใจอย่างมากที่สุด ในปัจจุบันนี้มีชาวต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยจำนวนมาก ได้พยายามยกมือไหว้และกล่าวคำว่า "สวัสดี-Sawasdee" เพราะเข้าใจวัฒนธรรมของไทยดีขึ้น นับเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยได้ประการหนึ่ง คำว่า สวัสดี ได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นคำของ "ชาตินิยม" เป็นวัฒนธรรม อันหยั่งรากฝังลึกลงในจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ อากัปกิริยาของการ "สวัสดี" ผนวกกับ ความมีน้ำใจไมตรีของคนไทย และรอยยิ้มแห่งมิตรภาพ ทำให้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำที่มีความหมายมากมายนัก คนไทยควรจะมาร่วมกันดำรงความเป็น "ไทย" ด้วยรอยยิ้มแจ่มใสและคำทักทาย "สวัสดีค่ะ" "สวัสดีครับ"

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้ : นางนพมาศเกี่ยวข้องกับวันลอยกระทงอย่างไร


นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนาง เรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี นางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้ : ทำไมของ1โหลต้องมี12ชิ้น


ทำไมของ1โหลต้องมี12ชิ้น

ในหนึ่งโหลของไทยนั้นสัมพันธ์กับระบบนับจำนวนของต่างชาติ ซึ่งมีคำว่า dozen (โดซเซ่น) หมายถึง 12 เช่นเดียวกัน ย้อนกลับไปหาที่มาคำว่า dozen ถือกำเนิดจากชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นชนชาติแรกที่สร้างสัญลักษณ์การนับตัวเลขในชีวิตประจำวันด้วยการเปล่งเสียงเรียก ต่อมาในช่วง 3,100 ปี ก่อนคริสตกาล ......ชาวสุเมเรียนเขียนจำนวนตัวเลขเป็นรูปลิ่ม และสร้างระบบจำนวนขึ้นมา จากฐาน 60 ซึ่งง่ายต่อการหารด้วยจำนวนต่างๆ แบ่งเป็นแฟ็กเตอร์ (ส่วนที่คูณกันขึ้นเป็นจำนวน) ได้แก่ 2, 3, 4, 5, 6, 10, 12, 15, 20, และ 30 FPRIVATE "TYPE=PICT;ALT="คำว่า dozen มีความหมายมาจาก "5 ส่วนของ 60" (12 คูณ 5 เท่ากับ 60) ภาษาละตินหมายถึง 12 ขณะที่ชาวโรมันถือว่าเลข 12 เป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมาสร้างระบบการนับปี แบ่งให้มี 12 เดือนส่วนพ่อค้าแม่ขายในในสมัยโบราณก็นิยมใช้ 12 ขายของ เพราะสะดวกและแยกส่วนได้ง่ายกว่าเลข 10 และใช้เรื่อยมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า ในช่วงยุคกลางของอังกฤษ พ่อค้าขนมปังจะต้องถูกลงโทษหนัก หากตัดขายขนมปังในน้ำหนักที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ขณะที่พ่อค้าขนมปังในยุคนั้นก็ไม่ได้มีความรู้นับจำนวนอะไร กลัวจะพลาดระหว่าง 11 ก้อนกับ 12 ก้อน จึงหันไปใช้วิธีกันเหนียว คือตัดขนมปัง 13 ก้อนเวลาที่จะขายขนมปังหนึ่งโหลกรณีนี้หนึ่งโหลเลยมี 13 ชิ้น ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนนักจิตวิทยาบางคนเคยทดสอบความแตกต่างระหว่างคนที่ชอบเลข 12 มากกว่าเลข 10 ว่าเป็นคนที่ยืดหยุ่นและอ่อนโยนกว่า อันนี้ก็ฟังไว้เล่นๆ ได้ ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า โหลมาจากภาษาอังกฤษว่า Dozen รากศัพท์ภาษาละตินว่า duodecim เชื่อว่าเป็นการนับเลขรวมกลุ่มแบบแรกๆ เพราะตัวเลข 12 มาจากฐานการนับรอบดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์รู้จักว่าเป็นระบบจำนวนฐานสิบสอง หรือทวาทิศนิยม (duodecimal system)12 โหลเรียกว่า 1 กุรุส (a gross) การนับโหลสะดวกสบาย เพราะตัวคูณและพหุคูณคิดได้ง่าย เช่น 12 เท่ากับ 3 X 2 X 2 หรือ 360 เท่ากับ 20 X 3

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Enlish Tale : The Cunning Mediator



Vocaburaly
Cunning (n.) ความหลักแหลม ความชำนาญ
Mediator (n.) ผู้ไกล่เกลี่ย
Sparrow (n.) นกกระจอก(ในตระกูลFringilidae)
Hollow (n.) เป็นโพลง เป็นหลุม
Trace (n.) สายบังเหียน ร่องรอย รอยทาง
Silent (adj.) นิ่งเงียบ ถูกลืม
Occupy (vt.) ครอบครอง อาศัยอยู่
Nest (n.) รัง
Ethic (n.) หลักจริยธรรม
Solve (vt.) แก้ไขปัญหา
Proposal (n.) การเสนอ
Expert (n.) ผู้เชี่ยวชาญ
Meanwhile (adv.) ในระหว่างนั้น
Spread (vt.) แพร่ กระจาย
Mat (n.) พรมเช็ดเท้า เสื่อ ที่รองจานอาหาร
Posture (n.) ท่าทาง ทัศนคติ สภาวะ
Worship (n.) การบูชา สักการะ


The Cunning Mediator


A sparrow was living in the hollow of a big tree. One day, she left the tree with other sparrows in search of food and did not return. Days passed without any trace of of her returning back. One fine morning, a hare named Sighragha, came and silently occupied her nest. After some days he returned looking healthier than he was when he had left and found that the hare had taken his place. He asked the hare to leave his place but he refused. At the end, they decided to go to an expert in law and ethics who can solve their problem. The hare agreed to this proposal and both of them went in search of an expert. Meanwhile, word about their quarrel had reached a wicked and wild cat. Knowing the route that the hare and the sparrow would take, the cat set up a camp on the way. He spread a mat of grass on the ground and went into a posture of meditation. Facing the sun and raising his hands in worship, the cat began reciting scriptures. Both of them decided to make her their judge.
She said, "I will not do you any harm. After hearing your account, I will decide who among you is the rightful owner of the place in the tree. But I am now very old and cannot hear you properly. So, please come close to me and narrate your story."
When the poor and innocent sparrow and hare came within the reach of the cat, he pounced on them and grabbed the sparrow in his teeth and slashed the body of the hare with his jaws and killed them.
Moral:
Third party among two disagreed parties is always beneficiary
 
body