วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551
Christmas tree history
Did a celebration around a Christmas tree on a bitter cold Christmas Eve at Trenton, New Jersey, turn the tide for Colonial forces in 1776? According to legend, Hessian mercenaries were so reminded of home by a candlelit evergreen tree that they abandoned their guardposts to eat, drink and be merry. Washington attached that night and defeated them.
The Christmas tree has gone through a long process of development rich in many legends, says David Robson, Extension Educator, Horticulture, with the Springfield Extension Center.
Some historians trace the lighted Christmas tree to Martin Luther. He attached lighted candles to a small evergreen tree, trying to simulate the reflections of the starlit heaven -- the heaven that looked down over Bethlehem on the first Christmas Eve.
Until about 1700, the use of Christmas trees appears to have been confined to the Rhine River District. From 1700 on, when lights were accepted as part of the decorations, the Christmas tree was well on its way to becoming a tradition in Germany. Then the tradition crossed the Atlantic with the Hessian soldiers.
Some people trace the origin of the Christmas tree to an earlier period. Even before the Christian era, trees and boughs were used for ceremonials. Egyptians, in celebrating the winter solstice -- the shortest day of the year -- brought green date palms into their homes as a symbol of "life triumphant over death". When the Romans observed the feast of saturn, part of the ceremony was the raising of an evergreen bough. The early Scandinavians were said to have paid homage to the fir tree.
To the Druids, sprigs of evergreen holly in the house meant eternal life; while to the Norsemen, they symbolized the revival of the sun god Balder. To those inclined toward superstition, branches of evergreens placed over the door kept out witches, ghosts, evil spirits and the like.
This use does not mean that our Christmas tree custom evolved solely from paganism, any more than did some of the present-day use of sighed in various religious rituals.
Trees and branches can be made purposeful as well as symbolic. The Christmas tree is a symbol of a living Christmas spirit and brings into our lives a pleasant aroma of the forest. The fact that balsam fir twigs, more than any other evergreen twigs, resemble crosses may have had much to do with the early popularity of balsam fir used as Christmas trees.
วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551
Christmas Day History
Christmas is always observed on December 25th.
Christmas is a Christian holiday celebrating the birth of Jesus Christ. Decorating houses and yards with lights, putting up Christmas trees, giving gifts, and sending greeting cards have become traditions even for many non-Christian Americans.
In the third century, efforts were made to find out the date of the Nativity, but only in the year 336 was the date of the December 25 festival set in commemoration of Jesus' birth. Pope Julius formally selected December 25 as the day of Christmas in 349 A.D.
Roman Catholics, Lutherans, members of the Dutch Reformed and Anglican churches, and those of the German sects were most responsible for establishing Christmas traditions in America. Christmas customs spread with the westward expansion of the United States and by the late 1800s had become firmly entrenched in American society.
The Christmas Tree is a German tradition, started as early as 700 A.D. In the 1800s the tradition of a Christmas tree was widespread in Germany, then moved to England and then to America through Pennsylvanian German immigrants. In Victorian times, people had already started decorating trees with candies and cakes hung with ribbon. In 1880, Woolworths first sold manufactured Christmas tree ornaments, and they caught on very quickly. Martin Luther, in the 16th century, is credited as being the first person to put candles on a tree, and the first electrically lighted Christmas tree appeared in 1882. In 1923, Calvin Coolidge ceremoniously lit the first outdoor tree at the White House.
Santa Claus started with a real person, Saint Nicholas, a minor saint from the fourth century. Nicholas' reputation for generosity and kindness gave rise to legends of miracles he performed for the poor and unhappy. In the Middle Ages, devotion to Nicholas extended to all parts of Europe, but eventually faded in all the Protestant countries of Europe except Holland, where his legend persisted as Sinterklaas (a Dutch variant of the name Saint Nicholas). Dutch colonists took this tradition with them to New Amsterdam (now New York City) in the 17th century. Sinterklaas was adopted by the country's English-speaking majority under the name Santa Claus, and his legend of a kindly old man was united with old Nordic folktales of a magician who punished naughty children and rewarded good children with presents.
Christmas is a Christian holiday celebrating the birth of Jesus Christ. Decorating houses and yards with lights, putting up Christmas trees, giving gifts, and sending greeting cards have become traditions even for many non-Christian Americans.
In the third century, efforts were made to find out the date of the Nativity, but only in the year 336 was the date of the December 25 festival set in commemoration of Jesus' birth. Pope Julius formally selected December 25 as the day of Christmas in 349 A.D.
Roman Catholics, Lutherans, members of the Dutch Reformed and Anglican churches, and those of the German sects were most responsible for establishing Christmas traditions in America. Christmas customs spread with the westward expansion of the United States and by the late 1800s had become firmly entrenched in American society.
The Christmas Tree is a German tradition, started as early as 700 A.D. In the 1800s the tradition of a Christmas tree was widespread in Germany, then moved to England and then to America through Pennsylvanian German immigrants. In Victorian times, people had already started decorating trees with candies and cakes hung with ribbon. In 1880, Woolworths first sold manufactured Christmas tree ornaments, and they caught on very quickly. Martin Luther, in the 16th century, is credited as being the first person to put candles on a tree, and the first electrically lighted Christmas tree appeared in 1882. In 1923, Calvin Coolidge ceremoniously lit the first outdoor tree at the White House.
Santa Claus started with a real person, Saint Nicholas, a minor saint from the fourth century. Nicholas' reputation for generosity and kindness gave rise to legends of miracles he performed for the poor and unhappy. In the Middle Ages, devotion to Nicholas extended to all parts of Europe, but eventually faded in all the Protestant countries of Europe except Holland, where his legend persisted as Sinterklaas (a Dutch variant of the name Saint Nicholas). Dutch colonists took this tradition with them to New Amsterdam (now New York City) in the 17th century. Sinterklaas was adopted by the country's English-speaking majority under the name Santa Claus, and his legend of a kindly old man was united with old Nordic folktales of a magician who punished naughty children and rewarded good children with presents.
วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551
10 ของขวัญจาก "เชื้อรา" ที่มอบให้มนุษย์
เอ่ยคำว่า "เห็ด" หลายคนนึกถึงเมนูอาหารจานเด็ด และยิ่งน้ำลายสอเมื่อเป็นเห็ดโคน เห็ดหลินจือ หรือเห็ดทรัพเฟิล และอีกสารพัดเห็ดที่ไม่ใช่เห็ดพิษ แต่หากขึ้นชื่อว่า "รา" ทำเอาทุกคนรู้สึกเข็ดขยาดไม่กล้าเข้าใกล้ และนึกกลัวติดโรคร้ายจากเชื้อรา ทว่า "เห็ดรา" เป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเดียวกัน ที่มีทั้งคุณประโยชน์และโทษที่ไม่น่าพิศมัย
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเห็ดราอย่างลึกซึ้งนั้นมีไม่มาก ขณะที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาจมีคุณประโยชน์อีกมากมายต่อมนุษย์ที่ยังไม่มีใครค้นพบ และนักวิทยาศาสตร์อังกฤษก็เกิดความกังวลว่าเราจะพลาดโอกาสดีๆ เหล่านั้นไป ดังที่ ดร.ปีเตอร์ โรเบิร์ตส (Dr. Peter Roberts) ผู้วชาญด้านเห็ดรา สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว (Royal Botanic Gardens, Kew) สหราชอาณาจักร ได้ยก 10 ตัวอย่างที่เห็ดและรา (Fungi) นานาชนิดมอบให้เป็นของขวัญแก่มนุษย์ ตามรายงานจากบีบีซีนิวส์ว่ามีดังนี้
1. มาร์ไมต์ (Marmite) ครีมข้นหนืด สีน้ำตาลเข้ม รสเค็ม สำหรับทาขนมปัง ซึ่งเป็นที่นิยมในอังกฤษและอีกหลายชาติในยุโรป มาร์ไมต์ผลิตจากสารสกัดจากยีสต์ที่เหลือจากอุตสากรรมการหมักเบียร์ ซึ่งยีสต์ก็จัดเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวกับเห็ดและรา ในออสเตรเลียเรียก ดิตโต เวจจิไมต์ (Ditto Vegemite) ส่วนชาวสวิสเรียก เซโนวิส (Cenovis)
2. เบียร์ และขนมปัง (Beer and bread) อาหารหลักของชาวอังกฤษ ทั้ง 2 อย่างนี้มียีสต์เป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการผลิต ในการหมักเบียร์โดยทั่วไปจะใช้ยีสต์ชนิด แซคคาโรไมซีส เซเรวิซิอี (Saccharomyces cerevisiae) หรือบรูเวอร์สยีสต์ (Brewer's yeast) ถ้าเป็นเบียร์สดมักหมักด้วยยีสต์ชนิด แซคคาโรไมซีส คาร์ลสเบอร์เจนซิส (Saccharomyces carlsbergensis) ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิทย์ชาวเดนมาร์ก ส่วนไวน์ เหล้าแอปเปิล และเหล้าแพร์ หมักด้วยยีสต์ธรรมชาติได้หลากหลายสายพันธุ์
3. ควอร์น (Quorn) อาหารที่ใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งอาจไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป แต่นิยมรับประทานกันมากในหมู่ผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ เช่น ไส้กรอกไก่เทียม ที่ทำจากเส้นใยของเชื้อรา มีการผลิตควอร์นออกจำหน่ายเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี 2528 หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาค้นคว้ามานานนับสิบปีตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 50 และ 60 ด้วยความกลัวที่ว่าในอนาคตจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารประเภทโปรตีน
4. กล้วยไม้ เป็นไม้ดอกเขตร้อน ที่นิยมนำไปประดับประดาเพิ่มความสวยงามสดชื่นในโรงแรมและสถานที่ต่างๆ ซึ่งในการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของกล้วยไม้จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเชื้อราเป็นตัวช่วย
5. คาเมมเบิร์ต (camembert) ครีมชีสที่ผลิตจากรา รวมทั้งซอสถั่วเหลือง และมิโสะ (เต้าเจี้ยว) ที่ต้องหมักด้วยจุลินทรีย์จำพวกรา เหล่านี้ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้ถูกปากถูกใจนักชิมยิ่งขึ้น
6. เชื้อราช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดิน โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้ผุพัง ซึ่งราช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุจำพวกเซลลูโลสได้เป็นอย่างดี ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เพราะการย่อยสลายทำให้ได้ธาตุอาหารหมุนเวียนกลับสู่ระบบนิเวศน์กว่า 90% และเชื้อราเป็นจุลชีพเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สามารถย่อยลิกนินได้
7. สเตติน (Statin) ยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เป็นสารที่แยกได้จากเชื้อรา โมนาสคัส รูเบอร์ (Monascus ruber) และเพนิซีเลียม ซิเตรียม (Penicillium citrinum) สเตตินจะไปมีผลยับยั้งเอนไซม์สำคัญ (HMG-CoA reductase) ของกระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งจะไปมีผลกระตุ้นการทำงานของแอลดีแอลรีเซพเตอร์ (LDL receptor) ให้เพิ่มการกำจัดแอลดีเอล (low-density lipoprotein: LDL) ออกจากกระแสเลือด เป็นผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงด้วยเช่นกัน
8. เพนิซิลิน (Penicillin) ยาปฏิชีวนะที่สกัดแยกครั้งแรกได้จากเชื้อรา เพนิซิเลียม ไครโซจีนัม (Penicillium chrysogenum) ซึ่งในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ ที่ค้นพบในภายหลังก็เป็นสารที่แยกได้จากเชื้อราเช่นกัน ซึ่งการค้นพบเพนิซิลินครั้งแรกในปี 2471 โดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming) เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการแพทย์ อันส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 2488
9. แอลเอสดี (Lysergic acid diethylamide: LSD) ยาหลอนประสาทชนิดรุนแรง เป็นสารอนุพันธ์ของกรดไลเซอร์จิก (lysergic acid) ที่แยกได้จากเชื้อรา คลาวิเซพส์ เพอร์พูเรีย (Claviceps purpurea) ค้นพบครั้งแรกในปี 2481 โดยอัลเบิร์ต ฮอฟแมนน์ (Albert Hofmann) นักเคมีชาวสวิส ต่อมาภายหลังแอลเอสดีถูกจัดให้เป็นสารเสพติดให้โทษที่มีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างแรง
10. โรคน้ำกัดเท้า (athlete's foot), เชื้อราในปาก (thrush) และกลากเกลื้อน (ringworm) อันมีสาเหตุมาจากเชื้อรา และคงจะเป็นเรื่องที่น่าขอบคุณน้อยยิ่งนักสำหรับสิ่งนี้ที่เชื้อรามอบให้กับพวกเรา.
วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
เรื่องน่ารู้ : หน้าหนาว หมอเตือน!ระวังเลือดหนืด
อย่างที่เรารู้กันนะคะว่าในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำให้เจ็บป่วยง่าย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ รวมถึงปอดบวมด้วย
โดยอาการเบื้องต้นของโรคเหล่านี้ จะมีอาการคอจะแห้ง เจ็บคอ เพราะฤดูหนาวอากาศแห้ง ฝุ่นละอองมาก โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องสวมเสื้อผ้าให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ
ทั้งนี้ทาง นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาแจ้งเตือนถึงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวว่า "สภาพอากาศที่มีความหนาวเย็น หากใส่เสื้อผ้าให้ความอบอุ่นร่างกายไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อาจทำให้ช็อคเสียชีวิตได้ เนื่องจากความเย็นจะทำให้เลือดมีความหนืด หัวใจต้องทำงานสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายหนักขึ้น ที่น่าห่วงก็คือเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ที่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่นๆ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตสูงที่สุด เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายของเด็กยังทำงานไม่เต็มที่ อุณหภูมิร่างกายเด็กจึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามสภาพอากาศ ในปีที่ผ่านมีรายงานเสียชีวิตแล้ว 1 ราย"
นอกจากนี้ทางสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ยังให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องระวังในช่วงฤดูหนาวอีกเรื่องหนึ่งคือ ความเปียกชื้น โดยการอาบน้ำหรือชำระล้างตัวเด็ก ควรใช้น้ำอุ่นๆ และอาบน้ำในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก เลือกเวลาที่อากาศไม่เย็นมาก เช่น ตอนบ่าย ส่วนในเด็กเล็กให้หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อม เมื่อเด็กปัสสาวะหรืออุจจาระเปียกแฉะ นอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทแป้งและไขมัน เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ติดมัน ซึ่งจะช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย เด็กทารกควรให้กินนมแม่เพราะนอกจากเด็กจะได้รับภูมิต้านทานโรคจากนมแม่แล้ว การที่แม่โอบลูกขณะกินนมยังสร้างความอบอุ่นให้กับเด็กด้วย ส่วนเด็กโตนอกจากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ริมฝีปากและผิวหนังไม่แห้งแตก
โดยอาการเบื้องต้นของโรคเหล่านี้ จะมีอาการคอจะแห้ง เจ็บคอ เพราะฤดูหนาวอากาศแห้ง ฝุ่นละอองมาก โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องสวมเสื้อผ้าให้ความอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอ
ทั้งนี้ทาง นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาแจ้งเตือนถึงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวว่า "สภาพอากาศที่มีความหนาวเย็น หากใส่เสื้อผ้าให้ความอบอุ่นร่างกายไม่เพียงพอ จะมีผลทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อาจทำให้ช็อคเสียชีวิตได้ เนื่องจากความเย็นจะทำให้เลือดมีความหนืด หัวใจต้องทำงานสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายหนักขึ้น ที่น่าห่วงก็คือเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ที่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่นๆ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตสูงที่สุด เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายของเด็กยังทำงานไม่เต็มที่ อุณหภูมิร่างกายเด็กจึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามสภาพอากาศ ในปีที่ผ่านมีรายงานเสียชีวิตแล้ว 1 ราย"
นอกจากนี้ทางสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ยังให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องระวังในช่วงฤดูหนาวอีกเรื่องหนึ่งคือ ความเปียกชื้น โดยการอาบน้ำหรือชำระล้างตัวเด็ก ควรใช้น้ำอุ่นๆ และอาบน้ำในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก เลือกเวลาที่อากาศไม่เย็นมาก เช่น ตอนบ่าย ส่วนในเด็กเล็กให้หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อม เมื่อเด็กปัสสาวะหรืออุจจาระเปียกแฉะ นอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทแป้งและไขมัน เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ติดมัน ซึ่งจะช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย เด็กทารกควรให้กินนมแม่เพราะนอกจากเด็กจะได้รับภูมิต้านทานโรคจากนมแม่แล้ว การที่แม่โอบลูกขณะกินนมยังสร้างความอบอุ่นให้กับเด็กด้วย ส่วนเด็กโตนอกจากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ริมฝีปากและผิวหนังไม่แห้งแตก
วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
เรื่องน่ารู้ : ปริศนาเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
อยากรู้มั้ย ว่าแต่ละตำแหน่งหมายถึงอะไร ค้นหาคำตอบได้ที่นี่
โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
สำหรับฝรั่ง เขาจะถือว่า เลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล หรือเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เดอะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย
แม้ว่าเลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้
สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่
-ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
-ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
-ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9 -ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง
การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ
-ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
-ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12
-ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133
ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7
คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้
ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ
หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที
สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ
เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548
ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้
โดยความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
สำหรับฝรั่ง เขาจะถือว่า เลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล หรือเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เดอะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย
แม้ว่าเลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้
สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่
-ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
-ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
-ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9 -ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง
การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ
-ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
-ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12
-ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133
ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7
คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้
ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ
หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที
สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ
เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548
ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้
วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551
รวมรูปพระจันทร์ยิ้ม(1 ธันวาคม 2551)
ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม หรือ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนจะเกิด 2 ครั้งห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุก 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์(ดาวประจำเมือง) ดาวพฤหัสฯ และ ดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่าง ดาวอีก2ดวง และ อยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ปรากฏการณ์นี้จะมองเห็นได้ไม่นานนัก เพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เรื่องน่ารู้ : "สวรรคาลัย"อยู่ ณ แห่งหนใด
ความหมายของ "สวรรคาลัย" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง เสียชีวิต ซึ่งจะใช้แก่เจ้านายชั้นสูง นอกจากนี้แล้วคำๆ นี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการแต่งกลอน ส่วนการใช้คำว่า "ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย" ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า"สวรรคาลัยเป็นสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใดแต่ความจริงแล้วไม่ใช่ชื่อของชั้นของสวรรค์" ทั้งนี้หากแปลความหมายตรงๆหมายถึง "ส่งเสด็จไปสู่สวรรค์" นั่นเอง
สำหรับสวรรค์ในคติความเชื่อทางพุทธศาสนานั้น นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้เขียนหนังสือ ตามหาความจริงวิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม และถอดกฎพบกรรม ได้ยกตำราในพระไตรปิฎกมาอธิบายโดยเรียงจากชั้นล่างสุด ประกอบด้วย
1.ชั้นจาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นนี้อยู่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ประกอบด้วยเทวดาหลากหลายประเภท มีผู้ปกครอง 4 องค์ เรียก จตุโลกบาล โดยองค์แรกคือ ท้าวกุเวร หรือ เวสสุวรรณ อยู่ด้านทิศเหนือ ผู้ปกครององค์ที่ 2 คือ ท้าว วิฬุรหก อยู่ด้านทิศใต้ ผู้ปกครององค์ที่ 3 ชื่อ ท้าววิรูปักษ์ อยู่ทิศตะวันตก ผู้ปกครององค์ที่ 4 ชื่อ ท้าวธตรัฐ อยู่ทิศตะวันออก ปกครองพวก คนธรรพ์ รุกขเทวดา ภูมิเทวดา และ อากาสเทวดา สวรรค์ชั้นนี้ครอบคลุมตั้งแต่ พื้นโลกมนุษย์ขึ้นไปถึงระยะประมาณ 21,000 โยชน์ (คูณด้วย 16 จะออกมาเป็นกิโลเมตร )
2. ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่คนไทยคุ้นชื่อมากที่สุด และมีการพรรณนาถึงความงดงามของสวรรค์ชั้นนี้กันมากมาย ในชั้นนี้ มีสมเด็จพระอมรินทราธิราช หรือ พระอินทร์ เป็นผู้ปกครอง มีสวนสวรรค์อยู่ 4 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 4 ทิศ มีชื่อว่า นันทะ จิตรลดา สักกะ และ ผรุสกะ ส่วนที่ตั้งของชั้นดาวดึงส์ ก็อยู่สูงขึ้นไปจากโลก ประมาณ 42,000 โยชน์
3.ชั้นยามาเป็นสวรรค์ที่เพียบพร้อมด้วยความงาม และ ความสุข มากกว่าชั้นดาวดึงส์หลายเท่า ทิพยปราสาท เป็นเงิน และ ทอง มีรัศมีสว่างไสว กายทิพย์ของเทวดาเอง ก็มีรัศมีแผ่รอบกายเช่นกัน ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระสยามเทวาธิราช สำหรับสถานที่ตั้งก็อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีกประมาณ 42,000 โยชน์
4.ชั้นดุสิตสวรรค์ชั้นนี้ ชั้นดุสิตสวรรค์ชั้นนี้ ก็มีความงดงามตระการตาเพิ่มขึ้น จากสวรรค์ชั้นยามาอีกมากมาย ที่สำคัญก็คือสวรรค์ชั้นนี้ เป็นสถานที่ ที่พระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งใจบำเพ็ญบารมี เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะมาเกิดที่นี่
5.ชั้นนิมมานรดี สวรรค์นี้มีความงดงาม ประณีต เหนือกว่าสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไปอีก ซึ่งยากจะบรรยาย โดยใช้ภาษาที่พวกเราใช้กันตามปกติ เทพในชั้นนี้ รัศมีเรืองรองสว่างไสว และความพิเศษ ของเทพในชั้นนี้ก็คือ สามารถเนรมิตเอาอะไรก็ได้ ตามแต่ใจปรารถนา ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระสุนิมมิตเทวาธิราช
6.ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดในฝ่ายเทวโลก เป็นชั้นที่เทพผู้มาเกิด เสวยสุข ที่ละเอียดอ่อน ยิ่งกว่าชั้นอื่นใด อยากได้อะไร ก็จะมีเทพผู้เป็นบริวารมาคอยเนรมิตให้ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อ สมเด็จพระปรนิมมิตวสวัตดีเทวาธิราช สถานที่ตั้งก็อยู่สูงขึ้นไปจาก สวรรค์ ชั้น นิมมานรดี อีกประมาณ 42,000 โยชน์
สวรรค์มีอยู่จริงหรือ?
ส่วนคำถามที่ว่ามีหลักฐานอะไรบ้างที่พอจะยืนยันได้ว่าสวรรค์มีจริงนั้น นายโอฬาร ได้เสนอเหตุผลดังนี้
1.ทุกศาสนา มีคำสอนเรื่องสวรรค์ทั้งนั้น รายละเอียดอาจแตกต่างกันไป ถ้าคิดว่าศาสดาทุกคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีบารมีสูง รวมกันแล้ว ทำให้คนทั้งโลกเชื่อ มีศรัทธาได้ แล้วทำไม สวรรค์จะมีจริงไม่ได้
2.ชาวพุทธ ถ้าเชื่อคำสอนพระพุทธเจ้า เชื่อกฎแห่งกรรมโดยลึกซึ้ง ก็จะต้องเชื่อการมีอยู่ ของ วัฏสงสารด้วย เพราะกฎแห่งกรรม ไม่สามารถทำงานครบถ้วน สมบูรณ์ ในชาติ (มนุษย์)เดียว ดังนั้น ชีวิตที่มีกายทิพย์อีก ๒๙ ภพภูมิ คือพวก นรก เปรต ผี เทวดา พรหม จึงต้องมีด้วย เพื่อรองรับการเวียนว่ายตายเกิด จากกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แต่ละคนทำขึ้น
3.คนทั่วโลกไม่ว่าสมัยใด และนับถือศาสนาใด มีคนเคยเห็นผีมามากมาย ทั้งด้วยตัวเอง และการถ่ายภาพ (ที่เคยเห็นเทวดามีบ้างแต่น้อย) ถ้าผี คือชีวิตที่มีกายทิพย์ค่อนข้างหยาบ เกือบซ้อนกับภพมนุษย์มีจริง ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เทวดา ซึ่งเป็นกายทิพย์ เช่นกัน แต่ละเอียด ประณีตกว่า จะมีจริงไม่ได้
4.ในทางวิทยาศาสตร์ แต่เดิมอะตอม คือสิ่งละเอียดที่สุด ต่อมาก็พบ นิวตรอน โปรตรอน อีเล็คตรอน และต่อมาก็พบ อนุภาคควอนตัม ที่เล็กกว่านั้นไปอีก ในปัจจุบัน มีทฤษฎี สตริง ที่กล่าวถึง อนุภาคพื้นฐานของจักรวาล ที่เล็กกว่า ควอนตั้ม อีก นับ ล้าน ล้าน ล้าน และอนุภาคละเอียดนี้ จะเกิดได้ในมิติอื่น ๆ นอกเหนือ 4 มิติ ที่เรารู้จักกัน (คำนวณว่าจักรวาล ต้องมี 10-26 มิติ จึงจะรองรับทฤษฎีนี้ได้) ทฤษฎีสตริงนี้ อาจนำไปสู่การพิสูจน์ การมีจริง ของชีวิตกายทิพย์ (หรือโอปปาติกะในพุทธศาสนา ที่อยู่คนละภพภูมิหรือคนละมิติ ถ้าใช้คำทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน)ในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้
*แต่สวรรค์นั้นมนุษย์มองไม่เห็น และสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 ไม่ได้ คนส่วนใหญ่จึงไม่เชื่อว่ามีจริง
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เรื่องน่ารู้ : มาดู..ต้นกำเนิดความหมายของ...สวัสดี
ความหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 สวัสดี หมายถึงความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง คำทักทาย หรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน
สวัสดี ในส่วนที่นำมาใช้เป็นคำทักทายนั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่า เจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูดเมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืน โดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง จึงขอให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น ช่วยคิดหาคำให้ ตกลงได้คำว่า "สวัสดี" ไปใช้ และเมื่อ พ.ศ. 2476 พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้นำไปเผยแพร่ให้นิสิต ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน จึงได้แพร่หลายใช้กันต่อมา
ครั้นต่อมาในยุคบำรุงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชาติ รัฐบาลในสมัยนั้น ก็เห็นชอบกับการใช้คำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่ได้พบกัน ได้มอบให้กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ออกข่าวประกาศเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2486 ดังต่อไปนี้ (ตัวสะกดและการันต์ในสมัยนั้น) "ด้วยพนะท่านนายกรัฐมนตรี ได้พิจารนาเห็นว่า เพื่อเปนการส่งเสริมเกียรติแก่ตนและแก่ชาติ ให้สมกับที่เราได้รับความยกย่องว่า คนไทยเปนอารยะชน คำพูดจึงเปนสิ่งหนึ่งที่สแดงภูมิของจิตใจว่าสูงต่ำเพียงใด ฉะนั้นจึงมีคำสั่งให้กำชับ บันดาข้าราชการทุกคนกล่าวคำ "สวัสดี" ต่อกันไนโอกาสที่พบกันครั้งแรกของวัน เพื่อเป็นการผูกไมตรีต่อกัน และฝึกนิสัยไห้กล่าวแต่คำที่เปนมงคล ว่าอะไรว่าตามกัน กับขอไห้ข้าราชการช่วยแนะนำ แก่ผู้ที่อยู่ไนครอบครัวของตนไห้รู้จักกล่าวคำ "สวัสดี" เช่นเดียวกันด้วย" นี่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ทางราชการในสมัยนั้นได้กำหนดให้ใช้คำว่าสวัสดี ไว้แล้วตั้งแต่ พ.ศ.2486 แต่ปัจจุบันนี้เยาวชนไทย เมื่อพบกันแทนที่จะใช้คำว่า "สวัสดี" กลับนำเอาคำผรุสวาทมาใช้แทน ซึ่งล้วนแต่ไม่เป็นมงคลแก่ตนเองทั้งสิ้น นับเป็นความเสื่อมทางวัฒนธรรมด้านภาษา และจิตใจอย่างมากที่สุด ในปัจจุบันนี้มีชาวต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยจำนวนมาก ได้พยายามยกมือไหว้และกล่าวคำว่า "สวัสดี-Sawasdee" เพราะเข้าใจวัฒนธรรมของไทยดีขึ้น นับเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยได้ประการหนึ่ง คำว่า สวัสดี ได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นคำของ "ชาตินิยม" เป็นวัฒนธรรม อันหยั่งรากฝังลึกลงในจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ อากัปกิริยาของการ "สวัสดี" ผนวกกับ ความมีน้ำใจไมตรีของคนไทย และรอยยิ้มแห่งมิตรภาพ ทำให้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำที่มีความหมายมากมายนัก คนไทยควรจะมาร่วมกันดำรงความเป็น "ไทย" ด้วยรอยยิ้มแจ่มใสและคำทักทาย "สวัสดีค่ะ" "สวัสดีครับ"
สวัสดี ในส่วนที่นำมาใช้เป็นคำทักทายนั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่า เจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูดเมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืน โดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง จึงขอให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น ช่วยคิดหาคำให้ ตกลงได้คำว่า "สวัสดี" ไปใช้ และเมื่อ พ.ศ. 2476 พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้นำไปเผยแพร่ให้นิสิต ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน จึงได้แพร่หลายใช้กันต่อมา
ครั้นต่อมาในยุคบำรุงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชาติ รัฐบาลในสมัยนั้น ก็เห็นชอบกับการใช้คำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่ได้พบกัน ได้มอบให้กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ออกข่าวประกาศเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2486 ดังต่อไปนี้ (ตัวสะกดและการันต์ในสมัยนั้น) "ด้วยพนะท่านนายกรัฐมนตรี ได้พิจารนาเห็นว่า เพื่อเปนการส่งเสริมเกียรติแก่ตนและแก่ชาติ ให้สมกับที่เราได้รับความยกย่องว่า คนไทยเปนอารยะชน คำพูดจึงเปนสิ่งหนึ่งที่สแดงภูมิของจิตใจว่าสูงต่ำเพียงใด ฉะนั้นจึงมีคำสั่งให้กำชับ บันดาข้าราชการทุกคนกล่าวคำ "สวัสดี" ต่อกันไนโอกาสที่พบกันครั้งแรกของวัน เพื่อเป็นการผูกไมตรีต่อกัน และฝึกนิสัยไห้กล่าวแต่คำที่เปนมงคล ว่าอะไรว่าตามกัน กับขอไห้ข้าราชการช่วยแนะนำ แก่ผู้ที่อยู่ไนครอบครัวของตนไห้รู้จักกล่าวคำ "สวัสดี" เช่นเดียวกันด้วย" นี่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ทางราชการในสมัยนั้นได้กำหนดให้ใช้คำว่าสวัสดี ไว้แล้วตั้งแต่ พ.ศ.2486 แต่ปัจจุบันนี้เยาวชนไทย เมื่อพบกันแทนที่จะใช้คำว่า "สวัสดี" กลับนำเอาคำผรุสวาทมาใช้แทน ซึ่งล้วนแต่ไม่เป็นมงคลแก่ตนเองทั้งสิ้น นับเป็นความเสื่อมทางวัฒนธรรมด้านภาษา และจิตใจอย่างมากที่สุด ในปัจจุบันนี้มีชาวต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยจำนวนมาก ได้พยายามยกมือไหว้และกล่าวคำว่า "สวัสดี-Sawasdee" เพราะเข้าใจวัฒนธรรมของไทยดีขึ้น นับเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยได้ประการหนึ่ง คำว่า สวัสดี ได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นคำของ "ชาตินิยม" เป็นวัฒนธรรม อันหยั่งรากฝังลึกลงในจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ อากัปกิริยาของการ "สวัสดี" ผนวกกับ ความมีน้ำใจไมตรีของคนไทย และรอยยิ้มแห่งมิตรภาพ ทำให้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำที่มีความหมายมากมายนัก คนไทยควรจะมาร่วมกันดำรงความเป็น "ไทย" ด้วยรอยยิ้มแจ่มใสและคำทักทาย "สวัสดีค่ะ" "สวัสดีครับ"
วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เรื่องน่ารู้ : นางนพมาศเกี่ยวข้องกับวันลอยกระทงอย่างไร
นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนาง เรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี นางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เรื่องน่ารู้ : ทำไมของ1โหลต้องมี12ชิ้น
ทำไมของ1โหลต้องมี12ชิ้น
ในหนึ่งโหลของไทยนั้นสัมพันธ์กับระบบนับจำนวนของต่างชาติ ซึ่งมีคำว่า dozen (โดซเซ่น) หมายถึง 12 เช่นเดียวกัน ย้อนกลับไปหาที่มาคำว่า dozen ถือกำเนิดจากชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นชนชาติแรกที่สร้างสัญลักษณ์การนับตัวเลขในชีวิตประจำวันด้วยการเปล่งเสียงเรียก ต่อมาในช่วง 3,100 ปี ก่อนคริสตกาล ......ชาวสุเมเรียนเขียนจำนวนตัวเลขเป็นรูปลิ่ม และสร้างระบบจำนวนขึ้นมา จากฐาน 60 ซึ่งง่ายต่อการหารด้วยจำนวนต่างๆ แบ่งเป็นแฟ็กเตอร์ (ส่วนที่คูณกันขึ้นเป็นจำนวน) ได้แก่ 2, 3, 4, 5, 6, 10, 12, 15, 20, และ 30 FPRIVATE "TYPE=PICT;ALT="คำว่า dozen มีความหมายมาจาก "5 ส่วนของ 60" (12 คูณ 5 เท่ากับ 60) ภาษาละตินหมายถึง 12 ขณะที่ชาวโรมันถือว่าเลข 12 เป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมาสร้างระบบการนับปี แบ่งให้มี 12 เดือนส่วนพ่อค้าแม่ขายในในสมัยโบราณก็นิยมใช้ 12 ขายของ เพราะสะดวกและแยกส่วนได้ง่ายกว่าเลข 10 และใช้เรื่อยมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า ในช่วงยุคกลางของอังกฤษ พ่อค้าขนมปังจะต้องถูกลงโทษหนัก หากตัดขายขนมปังในน้ำหนักที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ขณะที่พ่อค้าขนมปังในยุคนั้นก็ไม่ได้มีความรู้นับจำนวนอะไร กลัวจะพลาดระหว่าง 11 ก้อนกับ 12 ก้อน จึงหันไปใช้วิธีกันเหนียว คือตัดขนมปัง 13 ก้อนเวลาที่จะขายขนมปังหนึ่งโหลกรณีนี้หนึ่งโหลเลยมี 13 ชิ้น ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนนักจิตวิทยาบางคนเคยทดสอบความแตกต่างระหว่างคนที่ชอบเลข 12 มากกว่าเลข 10 ว่าเป็นคนที่ยืดหยุ่นและอ่อนโยนกว่า อันนี้ก็ฟังไว้เล่นๆ ได้ ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า โหลมาจากภาษาอังกฤษว่า Dozen รากศัพท์ภาษาละตินว่า duodecim เชื่อว่าเป็นการนับเลขรวมกลุ่มแบบแรกๆ เพราะตัวเลข 12 มาจากฐานการนับรอบดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์รู้จักว่าเป็นระบบจำนวนฐานสิบสอง หรือทวาทิศนิยม (duodecimal system)12 โหลเรียกว่า 1 กุรุส (a gross) การนับโหลสะดวกสบาย เพราะตัวคูณและพหุคูณคิดได้ง่าย เช่น 12 เท่ากับ 3 X 2 X 2 หรือ 360 เท่ากับ 20 X 3
วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
Enlish Tale : The Cunning Mediator
Vocaburaly
Cunning (n.) ความหลักแหลม ความชำนาญ
Mediator (n.) ผู้ไกล่เกลี่ย
Sparrow (n.) นกกระจอก(ในตระกูลFringilidae)
Hollow (n.) เป็นโพลง เป็นหลุม
Trace (n.) สายบังเหียน ร่องรอย รอยทาง
Silent (adj.) นิ่งเงียบ ถูกลืม
Occupy (vt.) ครอบครอง อาศัยอยู่
Nest (n.) รัง
Ethic (n.) หลักจริยธรรม
Solve (vt.) แก้ไขปัญหา
Proposal (n.) การเสนอ
Expert (n.) ผู้เชี่ยวชาญ
Meanwhile (adv.) ในระหว่างนั้น
Spread (vt.) แพร่ กระจาย
Mat (n.) พรมเช็ดเท้า เสื่อ ที่รองจานอาหาร
Posture (n.) ท่าทาง ทัศนคติ สภาวะ
Worship (n.) การบูชา สักการะ
The Cunning Mediator
A sparrow was living in the hollow of a big tree. One day, she left the tree with other sparrows in search of food and did not return. Days passed without any trace of of her returning back. One fine morning, a hare named Sighragha, came and silently occupied her nest. After some days he returned looking healthier than he was when he had left and found that the hare had taken his place. He asked the hare to leave his place but he refused. At the end, they decided to go to an expert in law and ethics who can solve their problem. The hare agreed to this proposal and both of them went in search of an expert. Meanwhile, word about their quarrel had reached a wicked and wild cat. Knowing the route that the hare and the sparrow would take, the cat set up a camp on the way. He spread a mat of grass on the ground and went into a posture of meditation. Facing the sun and raising his hands in worship, the cat began reciting scriptures. Both of them decided to make her their judge.
She said, "I will not do you any harm. After hearing your account, I will decide who among you is the rightful owner of the place in the tree. But I am now very old and cannot hear you properly. So, please come close to me and narrate your story."
When the poor and innocent sparrow and hare came within the reach of the cat, he pounced on them and grabbed the sparrow in his teeth and slashed the body of the hare with his jaws and killed them.
Moral:
Third party among two disagreed parties is always beneficiary
Third party among two disagreed parties is always beneficiary
วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551
English Tale : Foolish Lion and the clever rabbit
Foolish Lion and the clever rabbit
Vocaburaly
Ferocious (adj.) ดุร้าย รุนแรง
Greedy (n.) ตะกละ ละโมบ
Indiscriminate (n.) ไม่เลือกเจาะจง ตามอำเภอใจ
Gather (vt.) รวบรวม สะสม
Approach (vt.) เข้าใกล้ ประชิดตัว เริ่ม
Volunteering (n.) อาสาสมัคร ผู้กระทำโดยสมัครใจ
Among (prep.) ในระหว่าง ในจำพวก ระหว่าง
Swore (v.2->swear) (vi.) สาบาน
Fault (n.) ความผิดพลาด ข้อบกพร่อง
Somehow (adv.) ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ด้วยวิธีใดก็ตาม
Escape (n.&v.) การหลบหนี หลบหลีก
Reach (vt.) มาถึง ยื่น เอื้อม
Challenge (n.) การท้าทาย
Supremacy (n.) ความอยู่สูงสุด อำนาจสูงสุด
Enrage (vt.) ทำให้โกรธแค้น ทำให้เดือดดาล
Reflection (n.) การสะท้อนกลับ
Furious (adj.) เต็มไปด้วยความโกรธ
Growl (vt.) เปล่งเสียงดัง คำรามด้วยความโกรธ
Equal (adj.) เท่ากัน พอเพียง เงียบสงบ
Wise (adj.) ฉลาด
Inhabitant (n.) ผู้อาศัย พลเมือง
Proud (adj.) ถือดี หยิ่ง ลำพองใจ ภูมิใจ สง่างาม
Wit (n.) สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด
Brute (n.) สัตว์ป่า
Once upon a time there lived a ferocious lion in the forest. It was a greedy lion and started killing animals in the forest indiscriminately. Seeing this, the animals gathered and decided to approach the lion with the offer of one animal of each species volunteering itself to be eaten by the lion everyday. So every day it was the turn of one of the animals and in the end came the rabbits' turn. The rabbits chose a old rabbit among them. The rabbit was wise and old. It took its own sweet time to go to the Lion. The Lion was getting impatient on not seeing any animal come by and swore to kill all animals the next day.
The rabbit then strode along to the Lion by sunset. The Lion was angry at him. But the wise rabbit was calm and slowly told the Lion that it was not his fault. He told the Lion that a group of rabbits were coming to him for the day when on the way, an angry Lion attacked them all and ate all rabbits but himself. Somehow he escaped to reach safely, the rabbit said. He said that the other Lion was challenging the supremacy of his Lordship the Lion. The Lion was naturally very enraged and asked to be taken to the location of the other Lion.
The wise rabbit agreed and led the Lion towards a deep well filled with water. Then he showed the Lion his reflection in the water of the well. The Lion was furious and started growling and naturally its image in the water, the other Lion, was also equally angry. Then the Lion jumped into the water at the other Lion to attack it, and so lost its life in the well. Thus the wise rabbit saved the forest and its inhabitants from the proud Lion. 0
MORAL: Wit is superior to brute force.
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551
English Tale : The Three Little Pigs
The Three Little Pigs
Vocaburaly
Realize (vt.) เข้าใจ สำนึก ทำให้เป็นจริง
Folk (n.) ประชาชน ชาวบ้าน สมาชิกของครอบครัว
Drift (n.) การล่องลอย การพเนจร
Autumn (n.) ฤดูใบไม้ร่วง วัยกลางคน
Straw (n.) ฟาง กองฟาง
Fragile (n.) เปราะ แตกหักง่าย อ่อนแอ บอบบาง
Approve (vt.) เห็นด้วย ยินดีด้วย พอใจ
Patience (n.) ความอดทน
Wolf (n.) สุนัขป่า
Wise (n.) ฉลาด มีสติปัญญา
Brick (n.) ก้อนอิฐ
Chuckle (vi.) หัวเราะเบาๆ
Stubborn (adj.) ดื้อดึง หัวรั้น
Sturdy (adj.) แข็งแรง มั่นคง ทนทาน
Order (n.) คำสั่ง
Reply (vi.) ตอบสนอง
Angrily (adj.) ด้วยความโกรธ
Puff (n.) กลุ่มควัน ไอหมอก
Deep (adj.) ลึก ลึกซึ้ง เหลือเกิน
Pole (n.) ไม้ยาว ไม้คาน
Against (n.) ต่อต้าน
Folk (n.) ประชาชน ชาวบ้าน สมาชิกของครอบครัว
Drift (n.) การล่องลอย การพเนจร
Autumn (n.) ฤดูใบไม้ร่วง วัยกลางคน
Straw (n.) ฟาง กองฟาง
Fragile (n.) เปราะ แตกหักง่าย อ่อนแอ บอบบาง
Approve (vt.) เห็นด้วย ยินดีด้วย พอใจ
Patience (n.) ความอดทน
Wolf (n.) สุนัขป่า
Wise (n.) ฉลาด มีสติปัญญา
Brick (n.) ก้อนอิฐ
Chuckle (vi.) หัวเราะเบาๆ
Stubborn (adj.) ดื้อดึง หัวรั้น
Sturdy (adj.) แข็งแรง มั่นคง ทนทาน
Order (n.) คำสั่ง
Reply (vi.) ตอบสนอง
Angrily (adj.) ด้วยความโกรธ
Puff (n.) กลุ่มควัน ไอหมอก
Deep (adj.) ลึก ลึกซึ้ง เหลือเกิน
Pole (n.) ไม้ยาว ไม้คาน
Against (n.) ต่อต้าน
Once upon a time there were three little pigs, who left their mummy and daddy to see the world. All summer long, they roamed through the woods and over the plains, playing games and having fun. None were happier than the three little pigs, and they easily made friends with everyone. Wherever they went, they were given a warm welcome, but as summer drew to a close, they realized that folk were drifting back to their usual jobs, and preparing for winter. Autumn came and it began to rain. The three little pigs started to feel they needed a real home. Sadly they knew that the fun was over now and they must set to work like the others, or they'd be left in the cold and rain, with no roof over their heads. They talked about what to do, but each decided for himself. The laziest little pig said he'd build a straw hut.
"It will only take a day,' he said. The others disagreed.
"It's too fragile," they said disapprovingly, but he refused to listen. Not quite so lazy, the second little pig went in search of planks of seasoned wood.
"Clunk! Clunk! Clunk!" It took him two days to nail them together. But the third little pig did not like the wooden house.
"That's not the way to build a house!" he said. "It takes time, patience and hard work to build a house that is strong enough to stand up to wind, rain, and snow, and most of all, protect us from the wolf!"
The days went by, and the wisest little pig's house took shape, brick by brick. From time to time, his brothers visited him, saying with a chuckle.
"Why are you working so hard? Why don't you come and play?" But the stubborn bricklayer pig just said "no".
"I shall finish my house first. It must be solid and sturdy. And then I'll come and play!" he said. "I shall not be foolish like you! For he who laughs last, laughs longest!"
It was the wisest little pig that found the tracks of a big wolf in the neighborhood. The little pigs rushed home in alarm. Along came the wolf, scowling fiercely at the laziest pig's straw hut. "Come out!" ordered the wolf, his mouth watering. I want to speak to you!"
"I'd rather stay where I am!" replied the little pig in a tiny voice.
"I'll make you come out!" growled the wolf angrily, and puffing out his chest, he took a very deep breath. Then he blew with all his might, right onto the house. And all the straw the silly pig had heaped against some thin poles fell down in the great blast. Excited by his own cleverness, the wolf did not notice that the little pig had slithered out from underneath the heap of straw, and was dashing towards his brother's wooden house. When he realized that the little pig was escaping, the wolf grew wild with rage.
"Come back!" he roared, trying to catch the pig as he ran into the wooden house. The other little pig greeted his brother, shaking like a leaf.
"I hope this house won't fall down! Let's lean against the door so he can't break in!" Outside, the wolf could hear the little pigs' words. Starving as he was, at the idea of a two course meal, he rained blows on the door. "Open up! Open up! I only want to speak to you!"
Inside, the two brothers wept in fear and did their best to hold the door fast against the blows. Then the furious wolf braced himself a new effort: he drew in a really enormous breath, and went ... WHOOOOO! The wooden house collapsed like a pack of cards.
Luckily, the wisest little pig had been watching the scene from the window of his own brick house, and he rapidly opened the door to his fleeing brothers. And not a moment too soon, for the wolf was already hammering furiously on the door. This time, the wolf had grave doubts. This house had a much more solid air than the others. He blew once, he blew again and then for a third time. But all was in vain. For the house did not budge an inch. The three little pigs watched him and their fear began to fade. Quite exhausted by his efforts, the wolf decided to try one of his tricks. He scrambled up a nearby ladder, on to the roof to have a look at the chimney. However, the wisest little pig had seen this ploy, and he quickly said.
"Quick! Light the fire!" With his long legs thrust down the chimney, the wolf was not sure if he should slide down the black hole. It wouldn't be easy to get in, but the sound of the little pigs' voices below only made him feel hungrier.
"I'm dying of hunger! I'm going to try and get down." And he let himself drop. But landing was rather hot, too hot! The wolf landed in the fire, stunned by his fall. The flames licked his hairy coat and his tail became a flaring torch.
"Never again! Never again will I go down a chimney" he squealed, as he tried to put out the flames in his tail. Then he ran away as fast as he could.
The three happy little pigs, dancing round and round the yard, began to sing. "Tra-la-la! Tra-la-la! The wicked black wolf will never come back...!"
From that terrible day on, the wisest little pig's brothers set to work with a will. In less than no time, up went the two new brick houses. The wolf did return once to roam in the neighborhood, but when he caught sight of three chimneys, he remembered the terrible pain of a burnt tail, and he left for good.
Now safe and happy, the wisest little pig called to his brothers. "No more work! Come on, let's go and play!"
The End
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551
English Tale : The Princess and the Pea
The Princess and the Pea
Vocabualy
Lightning (n.) ฟ้าแลบ
Pour (vt.) เท ริน ระบาย
Torrent (n.) กระแสน้ำเชี่ยว ฝนตกหนัก
Gate (n.) ประตูรั้ว ประตูเมือง
Gracious (adj.) มีมารยาท สุภาพ สง่างาม
Bedding (n.) ผ้าปูที่นอน
Bedstead (n.) โครงเตียง
Mattress (n.) ฟูก
Scarcely (adv.) อย่างขาดแคลน ไม่เพียงพอ หายาก
Horrible (adj.) น่ากลัว สยดสยอง ไม่เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง
Sensitive (adj.) อ่อนไหว
Once upon a time there was a prince who wanted to marry a princess; but she would have to be a real princess. He travelled all over the world to find one, but nowhere could he get what he wanted. There were princesses enough, but it was difficult to find out whether they were real ones. There was always something about them that was not as it should be. So he came home again and was sad, for he would have liked very much to have a real princess. One evening a terrible storm came on; there was thunder and lightning, and the rain poured down in torrents. Suddenly a knocking was heard at the city gate, and the old king went to open it. It was a princess standing out there in front of the gate. But, good gracious! what a sight the rain and the wind had made her look. The water ran down from her hair and clothes; it ran down into the toes of her shoes and out again at the heels. And yet she said that she was a real princess. "Well, we'll soon find that out," thought the old queen. But she said nothing, went into the bed-room, took all the bedding off the bedstead, and laid a pea on the bottom; then she took twenty mattresses and laid them on the pea, and then twenty eider-down beds on top of the mattresses. On this the princess had to lie all night. In the morning she was asked how she had slept. "Oh, very badly!" said she. "I have scarcely closed my eyes all night. Heaven only knows what was in the bed, but I was lying on something hard, so that I am black and blue all over my body. It's horrible!" Now they knew that she was a real princess because she had felt the pea right through the twenty mattresses and the twenty eider-down beds. Nobody but a real princess could be as sensitive as that. So the prince took her for his wife, for now he knew that he had a real princess; and the pea was put in the museum, where it may still be seen, if no one has stolen it. There, that is a true story.
The End
The End
วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551
Barbapapa
Barbapapa is both the title character, and name of the "species" of said character, of a series of children's books and Talus Taylor who resided in Paris, France The books were originally written in French (barbe เ papa is French for candy floss and were later translated into over 30 languages. As short cartoons of a length of only five minutes, they reached a broader audience via TV.
Barbapapa himself is a generally pear-shaped, pink shapeshifting blob-like creature who stumbles upon the human world and tries to fit in. The shapeshifting is usually accompanied by the saying "Clickety Click-Barba Trick" (in the French version "Hup Hup Hup, Barbatruc"). After various amusing adventures, he comes across a female of his species (more shapely, and black-coloured), named Barbamama. They produce seven children, known as the Barbababies, each a different colour:
Barbazoo (Barbidou in French), yellow, male, lover of animals
Barbalala, green, female, lover of music
Barbalib (Barbotine), orange, female, lover of books
Barbabeau (Barbouille), black and furry, male, lover of art
Barbabelle, purple, female, lover of beauty
Barbabright (Barbibul), blue, male, lover of science
Barbabravo (Barbidur), red, male, lover of strength and heroism
Vocabulary
Reside (vi.) อยู่อาศัย อยู่เป็นเวลานาน
Blob (n.) หยด หยดสี รอยเปื้อน
Stumble (vi) สะดุด ผิดพลาด ลังเล
Accompanie (vt.) มากับ ไปกับ ติดตาม
Furry (adj.) ทำด้วยหรือประกอบด้วยหนังขนสัตว์ มีลักษณะคล้ายขนสัตว์
Heroism (n.) ความเป็นผู้กล้าหาญ
Floss (n.) เส้นใยไหม เส้นชำระร่องฟัน
Blob (n.) หยด หยดสี รอยเปื้อน
Stumble (vi) สะดุด ผิดพลาด ลังเล
Accompanie (vt.) มากับ ไปกับ ติดตาม
Furry (adj.) ทำด้วยหรือประกอบด้วยหนังขนสัตว์ มีลักษณะคล้ายขนสัตว์
Heroism (n.) ความเป็นผู้กล้าหาญ
Floss (n.) เส้นใยไหม เส้นชำระร่องฟัน
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551
Tintin
The Adventures of Tintin (French: Les Aventures de Tintin) is a series of comic strips created by Belgian artist Hergé, the pen name of Georges Remi (1907–1983). The series first appeared in French in a children's supplement to the Belgian newspaper Le Vingtième Siècle on January 10, 1929. Set in a painstakingly researched world closely mirroring our own, the series has continued as a favourite of readers and critics alike for over 70 years.
The hero of the series is Tintin, a young Belgian reporter. He is aided in his adventures from the beginning by his faithful fox terrier dog Snowy (Milou in French). Later, popular additions to the cast included the brash, cynical and grumpy Captain Haddock, the bright but hearing-impaired Professor Calculus (Professeur Tournesol) and other colourful supporting characters such as the incompetent detectives Thomson and Thompson (Dupond et Dupont).
The success of the series saw the serialised strips collected into a series of albums (24 in all), spun into a successful magazine and adapted for both film and theatre. The series is one of the most popular European comics of the 20th century, with translations published in over 50 languages and more than 200 million copies of the books sold to date.[1]
The comic strip series has long been admired for its clean, expressive drawings in Hergé's signature ligne claire style.[2][3][4][5] Engaging,[6] well-researched[6][7][8] plots straddle a variety of genres: swashbuckling adventures with elements of fantasy, mysteries, political thrillers, and science fiction. The stories within the Tintin series always feature slapstick humour, offset in later albums by sophisticated satire and political/cultural commentary.
วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551
Marie Antoinette
Marie Antoinette was born in 1755. She was one of the 16 children of Maria Theresa, archduchess of Austria and queen of Hungary and Bohemia, and Holy Roman emperor Francis I. Her original name was Maria Antonia; Marie Antoinette was the name she took when she married.
Archduchess Antonia grew up in the highly moral environment of her mother's court. Maria Theresa was a strong leader, beloved by her people. The busy empress supervised her children's upbringing as closely as she could, but Antonia's education was left largely in the hands of a governess who was happy to spoil the pretty, high-spirited little girl. Antonia spent more time playing than studying, although she enjoyed her music lessons and became an excellent harpist and dancer.
Unlike so many royal couples, her parents had married for love and truly enjoyed family life. Although the court was a place of great formality on important occasions, in private the royal family was rather casual. Antonia regarded her mother with awe but was close to her good-natured father. A shadow fell over Antonia's sunny life in 1765, when her father died of a stroke at the age of 56.
A few years later, Antonia's childhood came to an end. Her mother had arranged Antonia's marriage to the dauphin (crown prince) of France to cement an alliance between Austria and France. In 1770, at age 14, Marie Antoinette left her homeland and travelled to the French palace of Versailles to be married.
Her 15-year-old groom, Louis, was fat, awkward, and shy. He neglected his royal duties in favor of hunting and working in his locksmith shop. It has been suspected that he suffered from a medical condition known as phimosis which prevented him from fathering children for the first seven years of his marriage. The public blamed Marie Antoinette for her failure to bear heirs to the throne -- as she would so often be blamed for things beyond her control.
The court of Versailles was more rigid than Maria Theresa's court, and Marie Antoinette yawned and giggled openly during royal ceremonies. As time went on she became increasingly rebellious. She insisted on going out alone or with a few companions, instead of surrounded by attendants. She picked her own friends and even her own clothes, refusing to wear corsets and stays. When her brother visited the court he commented disapprovingly that she had bad manners and was not doing her job.
In 1774 the old king died and Marie Antoinette's husband became King Louis XVI. Three years later he had minor surgery that enabled him to father children. Marie Antoinette's first child, Marie Therese Charlotte (called Madame Royale) was born the following year. By most accounts, Marie Antoinette then settled down to married life and became a devoted wife and mother.
An Unpopular Queen
Many French people hated the queen for her Austrian blood and her formerly frivolous ways. She was rumored to have had numerous affairs. The most persistent rumor centered on Count Hans Axel Fersen, a Swedish diplomat. He was definitely one of the queen's favorites, but it is doubtful that they were lovers. Yet Marie Antoinette was reviled in pornographic songs, pictures and pamphlets. Someone even published a fake autobiography in which the queen supposedly confessed her sins, calling herself a prostitute.
Marie Antoinette was also called Madame Deficit and blamed for the country's financial problems. It is true that she enjoyed a lavish lifestyle; her mother wrote to warn her against such extravagance. But Marie Antoinette was not quite as foolish and spoiled as the public believed. It certainly is not true that she said "Let them eat cake" when told that people were starving. As a woman and a foreigner she made a convenient scapegoat for the nation's problems, and it seemed that no slander against her was too wild to be widely believed.
As she matured Marie Antoinette became less extravagant. She tried to change her image by wearing simple gowns and posing for portraits with her children, but her efforts had little effect on the unforgiving public. The greatest damage to her reputation was created by a scandal in which she played no part at all: the Diamond Necklace Affair.
The Cardinal de Rohan wished to improve his social status at Versailles, and a woman calling herself the Comtesse de La Motte offered to help him. Unfortunately for the cardinal, Jeanne de La Motte was not really a comtesse. She was a con artist. She hired a woman to dress like Marie Antoinette and meet the cardinal in the gardens of Versailles at night. The false queen gave the cardinal a rose and hurried away, leaving the cardinal under the illusion that he had met Marie Antoinette.
Next Mme La Motte told the cardinal that the queen wanted him to purchase a very expensive diamond necklace on her behalf. Obediently the cardinal obtained the necklace and gave it to Mme La Motte, expecting the queen to pay for it. Of course, Marie Antoinette never saw the necklace; Mme La Motte gave the diamonds to her husband, who took them to London and sold them. When the jewelers demanded payment, the Diamond Necklace Affair became public. The cardinal and Mme La Motte were arrested. The cardinal was tried and acquitted. Mme La Motte was imprisoned, publicly flogged, and branded. Eventually she escaped to London, where she spread malicious rumors about Marie Antoinette.
Although Marie Antoinette was innocent in the whole affair, it was widely believed that she had accepted the necklace and refused to pay for it. There were even rumors that she had had an affair with Mme La Motte! The Diamond Necklace Affair contributed greatly to Marie Antoinette's downfall.
Revolution
Many French aristocrats enthusiastically supported the American Revolution. Louis XVI was in the first year of his reign in 1775, the year the American Revolution began. He secretly aided the colonies for the war's first three years, then supported them openly. It is possible that the colonies would have lost the war without French aid.
Lafayette, the French marquis who became an American general, was at Versailles during the reign of Louis XV but was never comfortable there. He was a poor dancer and felt he was too provincial for court life. At age 19 he joined the American Continental Army. It was considered patriotic for a French man to fight against England, France's traditional enemy. However, Lafayette had gone to America without royal approval, and when he returned to France after the war Louis XVI had him placed under house arrest. But this was a mere formality. After a week the king released Lafayette and invited him to a royal hunt to show there were no hard feelings.
At first Marie Antoinette had viewed Lafayette as a country bumpkin, but when he returned from the American Revolution her attitude changed, and she had him appointed commander-in-chief of the King's Dragoons. Still, unlike many of her contemporaries she felt ambivalent about the American Revolution. Perhaps she sensed the danger that loomed in France.
In 1789 the French Revolution erupted. Its causes were many, but much of the revolutionaries' fury focused on Marie Antoinette. On October 5 a mob of Parisian women marched on Versailles, shouting for the queen's blood. Some members of the mob were actually men in dresses, under the theory that royal troops were less likely to fire upon women.
When Marie Antoinette heard about the approaching mob she remained calm. "I know they have come from Paris to demand my head, but I learned from my mother not to fear death and I shall await it with firmness," she said. When the mob appeared outside the palace, Lafayette advised her to show herself on the balcony. Bravely she stepped out and faced them alone. As voices shouted, "Shoot! Shoot!" the queen bowed her head and curtsied. Then Lafayette joined her, bowed to her, and kissed her hand. He was considered a great hero, and his action impressed the crowd. "Vive la reine," they shouted ("Long live the queen!")
Their lives temporarily spared, the king and queen and their children were taken to Paris and imprisoned in the Tuileries palace.
The Journey to the Scaffold
The royal family remained imprisoned for years. In 1791 Axel Fersen, Marie Antoinette's rumored lover, arranged their escape. His initial plan called for Louis and Marie Antoinette to leave Paris in a small, fast coach; their children would travel separately to avoid suspicion. But Marie Antoinette refused to leave her children, insisting that the entire family travel together in a large, slow coach. It was a decision that sealed their fate, for the royal family was recognized in the village of Varennes and arrested. (Fersen, who had driven the escape coach, survived the French Revolution only to be murdered in 1809 by a revolutionary mob in Sweden.)
Lafayette was still trying to moderate between the royals and the revolutionaries, which won him few friends on either side. Marie Antoinette said sarcastically, "I can see that M. de Lafayette wishes to save us, but who will save us from M. de Lafayette?" Lafayette lost public support when he ordered soldiers to fire on a crowd that had gathered to petition for the dethronement of the king. Eventually he fled France and was imprisoned for five years in Austria for leading French troops into battle against the Austrians. He was liberated by Napoleon and lived to see Louis XVI's brother brought to the throne as Louis XVIII. He participated in the July Revolution (1830) against a third brother, Charles X. Lafayette died in 1834.
Because the king was apathetic, it fell to Marie Antoinette to negotiate with revolutionaries on the royal family's behalf. She also secretly urged Austria to intercede in France. When France went to war with Austria, Louis and Marie Antoinette were charged with treason. In 1792, the year the institution of royalty was officially abolished in France, the royal family was moved to the Temple Prison. They were treated fairly well and were permitted to live together. In December of that year Louis's trial began. He was found guilty and sentenced to death, and on January 21, 1793 he went bravely to the guillotine.
After Louis's death his brother (the future Louis XVIII), who had escaped from France years earlier, proclaimed Marie Antoinette's son Louis Charles to be the new king of France. For several months after their father's death Louis Charles and his sister, Marie Therese Charlotte, remained in prison with Marie Antoinette. The children were often sick, and the queen cared for them as best she could. Spitefully their jailors decided to separate young Charles Louis from his mother. He was placed in the cell beneath hers, where she could hear him crying. A few weeks later Marie Antoinette was separated from her daughter, as well. The former queen was awakened in the middle of the night and taken to the squalid Conciergerie prison. Louis Charles and Marie Therese Charlotte remained in the Temple. They never saw their mother again.
In October Marie Antoinette, now called "the Widow Capet," was tried and, like her husband, convicted of treason and sentenced to be guillotined. On October 16, 1793 she was taken through the streets of Paris in an open cart. She maintained her dignity to the end. On the scaffold she accidentally stepped on the executioner's foot, and her last words were, "Monsieur, I ask your pardon. I did not do it on purpose."
Her son Louis Charles (now King Louis XVII) was kept in a dark, filthy cell until he died of tuberculosis in 1795. In future years many men came forward claiming to be the long-lost prince. The most believable was Karl Wilhelm Naundorff, who died in Holland in 1845, but DNA tests later established that Naundorff was not related to Marie Antoinette. Moreover, DNA experts announced in April 2000 that tests conducted on the heart of the boy who died in prison proved once and for all that he was, in fact, Marie Antoinette's son.
Marie Antoinette's daughter, Madame Royale, survived the revolution. She became the duchesse d'Angouleme and lived to see the reigns of her uncles Louis XVIII and Charles X. She had no children.
Archduchess Antonia grew up in the highly moral environment of her mother's court. Maria Theresa was a strong leader, beloved by her people. The busy empress supervised her children's upbringing as closely as she could, but Antonia's education was left largely in the hands of a governess who was happy to spoil the pretty, high-spirited little girl. Antonia spent more time playing than studying, although she enjoyed her music lessons and became an excellent harpist and dancer.
Unlike so many royal couples, her parents had married for love and truly enjoyed family life. Although the court was a place of great formality on important occasions, in private the royal family was rather casual. Antonia regarded her mother with awe but was close to her good-natured father. A shadow fell over Antonia's sunny life in 1765, when her father died of a stroke at the age of 56.
A few years later, Antonia's childhood came to an end. Her mother had arranged Antonia's marriage to the dauphin (crown prince) of France to cement an alliance between Austria and France. In 1770, at age 14, Marie Antoinette left her homeland and travelled to the French palace of Versailles to be married.
Her 15-year-old groom, Louis, was fat, awkward, and shy. He neglected his royal duties in favor of hunting and working in his locksmith shop. It has been suspected that he suffered from a medical condition known as phimosis which prevented him from fathering children for the first seven years of his marriage. The public blamed Marie Antoinette for her failure to bear heirs to the throne -- as she would so often be blamed for things beyond her control.
The court of Versailles was more rigid than Maria Theresa's court, and Marie Antoinette yawned and giggled openly during royal ceremonies. As time went on she became increasingly rebellious. She insisted on going out alone or with a few companions, instead of surrounded by attendants. She picked her own friends and even her own clothes, refusing to wear corsets and stays. When her brother visited the court he commented disapprovingly that she had bad manners and was not doing her job.
In 1774 the old king died and Marie Antoinette's husband became King Louis XVI. Three years later he had minor surgery that enabled him to father children. Marie Antoinette's first child, Marie Therese Charlotte (called Madame Royale) was born the following year. By most accounts, Marie Antoinette then settled down to married life and became a devoted wife and mother.
An Unpopular Queen
Many French people hated the queen for her Austrian blood and her formerly frivolous ways. She was rumored to have had numerous affairs. The most persistent rumor centered on Count Hans Axel Fersen, a Swedish diplomat. He was definitely one of the queen's favorites, but it is doubtful that they were lovers. Yet Marie Antoinette was reviled in pornographic songs, pictures and pamphlets. Someone even published a fake autobiography in which the queen supposedly confessed her sins, calling herself a prostitute.
Marie Antoinette was also called Madame Deficit and blamed for the country's financial problems. It is true that she enjoyed a lavish lifestyle; her mother wrote to warn her against such extravagance. But Marie Antoinette was not quite as foolish and spoiled as the public believed. It certainly is not true that she said "Let them eat cake" when told that people were starving. As a woman and a foreigner she made a convenient scapegoat for the nation's problems, and it seemed that no slander against her was too wild to be widely believed.
As she matured Marie Antoinette became less extravagant. She tried to change her image by wearing simple gowns and posing for portraits with her children, but her efforts had little effect on the unforgiving public. The greatest damage to her reputation was created by a scandal in which she played no part at all: the Diamond Necklace Affair.
The Cardinal de Rohan wished to improve his social status at Versailles, and a woman calling herself the Comtesse de La Motte offered to help him. Unfortunately for the cardinal, Jeanne de La Motte was not really a comtesse. She was a con artist. She hired a woman to dress like Marie Antoinette and meet the cardinal in the gardens of Versailles at night. The false queen gave the cardinal a rose and hurried away, leaving the cardinal under the illusion that he had met Marie Antoinette.
Next Mme La Motte told the cardinal that the queen wanted him to purchase a very expensive diamond necklace on her behalf. Obediently the cardinal obtained the necklace and gave it to Mme La Motte, expecting the queen to pay for it. Of course, Marie Antoinette never saw the necklace; Mme La Motte gave the diamonds to her husband, who took them to London and sold them. When the jewelers demanded payment, the Diamond Necklace Affair became public. The cardinal and Mme La Motte were arrested. The cardinal was tried and acquitted. Mme La Motte was imprisoned, publicly flogged, and branded. Eventually she escaped to London, where she spread malicious rumors about Marie Antoinette.
Although Marie Antoinette was innocent in the whole affair, it was widely believed that she had accepted the necklace and refused to pay for it. There were even rumors that she had had an affair with Mme La Motte! The Diamond Necklace Affair contributed greatly to Marie Antoinette's downfall.
Revolution
Many French aristocrats enthusiastically supported the American Revolution. Louis XVI was in the first year of his reign in 1775, the year the American Revolution began. He secretly aided the colonies for the war's first three years, then supported them openly. It is possible that the colonies would have lost the war without French aid.
Lafayette, the French marquis who became an American general, was at Versailles during the reign of Louis XV but was never comfortable there. He was a poor dancer and felt he was too provincial for court life. At age 19 he joined the American Continental Army. It was considered patriotic for a French man to fight against England, France's traditional enemy. However, Lafayette had gone to America without royal approval, and when he returned to France after the war Louis XVI had him placed under house arrest. But this was a mere formality. After a week the king released Lafayette and invited him to a royal hunt to show there were no hard feelings.
At first Marie Antoinette had viewed Lafayette as a country bumpkin, but when he returned from the American Revolution her attitude changed, and she had him appointed commander-in-chief of the King's Dragoons. Still, unlike many of her contemporaries she felt ambivalent about the American Revolution. Perhaps she sensed the danger that loomed in France.
In 1789 the French Revolution erupted. Its causes were many, but much of the revolutionaries' fury focused on Marie Antoinette. On October 5 a mob of Parisian women marched on Versailles, shouting for the queen's blood. Some members of the mob were actually men in dresses, under the theory that royal troops were less likely to fire upon women.
When Marie Antoinette heard about the approaching mob she remained calm. "I know they have come from Paris to demand my head, but I learned from my mother not to fear death and I shall await it with firmness," she said. When the mob appeared outside the palace, Lafayette advised her to show herself on the balcony. Bravely she stepped out and faced them alone. As voices shouted, "Shoot! Shoot!" the queen bowed her head and curtsied. Then Lafayette joined her, bowed to her, and kissed her hand. He was considered a great hero, and his action impressed the crowd. "Vive la reine," they shouted ("Long live the queen!")
Their lives temporarily spared, the king and queen and their children were taken to Paris and imprisoned in the Tuileries palace.
The Journey to the Scaffold
The royal family remained imprisoned for years. In 1791 Axel Fersen, Marie Antoinette's rumored lover, arranged their escape. His initial plan called for Louis and Marie Antoinette to leave Paris in a small, fast coach; their children would travel separately to avoid suspicion. But Marie Antoinette refused to leave her children, insisting that the entire family travel together in a large, slow coach. It was a decision that sealed their fate, for the royal family was recognized in the village of Varennes and arrested. (Fersen, who had driven the escape coach, survived the French Revolution only to be murdered in 1809 by a revolutionary mob in Sweden.)
Lafayette was still trying to moderate between the royals and the revolutionaries, which won him few friends on either side. Marie Antoinette said sarcastically, "I can see that M. de Lafayette wishes to save us, but who will save us from M. de Lafayette?" Lafayette lost public support when he ordered soldiers to fire on a crowd that had gathered to petition for the dethronement of the king. Eventually he fled France and was imprisoned for five years in Austria for leading French troops into battle against the Austrians. He was liberated by Napoleon and lived to see Louis XVI's brother brought to the throne as Louis XVIII. He participated in the July Revolution (1830) against a third brother, Charles X. Lafayette died in 1834.
Because the king was apathetic, it fell to Marie Antoinette to negotiate with revolutionaries on the royal family's behalf. She also secretly urged Austria to intercede in France. When France went to war with Austria, Louis and Marie Antoinette were charged with treason. In 1792, the year the institution of royalty was officially abolished in France, the royal family was moved to the Temple Prison. They were treated fairly well and were permitted to live together. In December of that year Louis's trial began. He was found guilty and sentenced to death, and on January 21, 1793 he went bravely to the guillotine.
After Louis's death his brother (the future Louis XVIII), who had escaped from France years earlier, proclaimed Marie Antoinette's son Louis Charles to be the new king of France. For several months after their father's death Louis Charles and his sister, Marie Therese Charlotte, remained in prison with Marie Antoinette. The children were often sick, and the queen cared for them as best she could. Spitefully their jailors decided to separate young Charles Louis from his mother. He was placed in the cell beneath hers, where she could hear him crying. A few weeks later Marie Antoinette was separated from her daughter, as well. The former queen was awakened in the middle of the night and taken to the squalid Conciergerie prison. Louis Charles and Marie Therese Charlotte remained in the Temple. They never saw their mother again.
In October Marie Antoinette, now called "the Widow Capet," was tried and, like her husband, convicted of treason and sentenced to be guillotined. On October 16, 1793 she was taken through the streets of Paris in an open cart. She maintained her dignity to the end. On the scaffold she accidentally stepped on the executioner's foot, and her last words were, "Monsieur, I ask your pardon. I did not do it on purpose."
Her son Louis Charles (now King Louis XVII) was kept in a dark, filthy cell until he died of tuberculosis in 1795. In future years many men came forward claiming to be the long-lost prince. The most believable was Karl Wilhelm Naundorff, who died in Holland in 1845, but DNA tests later established that Naundorff was not related to Marie Antoinette. Moreover, DNA experts announced in April 2000 that tests conducted on the heart of the boy who died in prison proved once and for all that he was, in fact, Marie Antoinette's son.
Marie Antoinette's daughter, Madame Royale, survived the revolution. She became the duchesse d'Angouleme and lived to see the reigns of her uncles Louis XVIII and Charles X. She had no children.
มารี-อองตัวเน็ต โฌเซฟ ฌานน์ เดอ ฮับสบูร์ก-ลอแรนน์
(ประสูติ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 ณ กรุงเวียนนา สิ้นพระชนม์ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2336 กรุงปารีส) เจ้าหญิงแห่งฮังการี และแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย ราชินีฝรั่งเศส และนาแวร์ (แคว้นบาสก์ในปัจจุบัน) (พ.ศ. 2317 – พ.ศ. 2336) รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า มารี-อองตัวเนตแห่งออสเตรีย พระนางถูกประหารด้วยกิโยตินระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส
เมื่อทรงพระเยาว์ ที่กรุงเวียนนา
ธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดยุคใหญ่แห่งแคว้นทัสคานี (แห่งราชสำนักลอเรนน์) กับสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซาแห่งออสเตรีย มารี อองตัวเนตดำรงพระยศเป็น กษัตริย์ แห่งฮังการี และราชินีแห่งแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย (แห่งราชสำนักฮับสบูร์ก) พระนางประสูติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) เป็นธิดาองค์ที่ 15 และก่อนองค์สุดท้ายของพระบิดาและพระมารดา พระนางถูกเลี้ยงดูโดยอายาส เหล่าข้าราชบริพารของราชสำนัก (มาดาม เดอ บร็องเดส และต่อมาโดยมาดาม เดอ เลอเชนเฟลด์ ผู้เข้มงวด) ภายใต้การสอดส่องดูแลอย่างเข้มงวดของจักรพรรดินี ผู้มีแนวความคิดล้าหลังเกี่ยวกับการเลี้ยงดูโอรสและธิดา ด้วยการควบคุมสุขอนามัย และกระยาหารอย่างเข้มงวด และการทรมานร่างกายด้วยกิจกรรมหนักหน่วง มารี อองตัวเนตเติบโตขึ้นที่พระราชวังฮอฟบูร์กในกรุงเวียนนา และ ปราสาทชอนบรุนน์ การศึกษาของพระนางค่อนข้างถูกปล่อยประละเลย (หรือในอีกแง่หนึ่ง คือถูกเลี้ยงมาแบบง่ายๆกว่าการเลี้ยงดูราชนิกูลในราชสำนักฝรั่งเศส ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ห่างไกลจากกฎเกณฑ์ทั้งปวงของราชสำนัก เกือบจะแบบชาวบ้านธรรมดา) สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบสิบชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้ไม่ดีนัก พูดภาษาฝรั่งเศสได้น้อยนิด และยิ่งถ้าเป็นภาษาอิตาเลียนแล้วพระนางพูดได้น้อยมาก แม้ว่าทั้งสามภาษานั้นจะเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาราชนิกูลของออสเตรียก็ตาม จักรพรรดินีได้บังคับให้พระนางอภิเษกสมรสกับหลานชายคนโตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้มีชันษาใกล้เคียงกัน และในขณะเดียวกัน จักรพรรดินียังใฝ่ฝันจะจัดการอภิเษกอิซาเบล ธิดาอีกองค์ กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้ทรงชราภาพ
เมื่อมารี อองตัวเนตทรงเจริญพระชนมายุได้ 13 ชันษา จักรพรรดินีที่ขณะนั้นทรงเป็นหม้าย ได้ทรงสนพระทัยเพิ่มขึ้นในด้านการศึกษาของโอรสธิดา เพื่อจะได้สามารถจัดการอภิเษกสมรสได้ อาร์คดัชเชสมารี อองตัวเนต ได้หัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด กับ คริสตอฟ วิลบัลด์ กลุค (คีตกวีชื่อดัง) และเรียนนาฏศิลป์ฝรั่งเศสกับโนแวร์ เมื่อพระมารดาต้องเลือกระหว่างนักแสดงสองคนเพื่อให้มารี อองตัวเนตหัดการอ่านออกเสียง และร้องเพลง เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้ทัดทานอย่างเป็นทางการ เนื่องจากเห็นว่านักแสดงไม่มีคุณสมบัติพอ มารี-เทเรซา แห่งออสเตรีย จึงได้ขอให้เขาจัดหาครูที่ราชสำนักฝรั่งเศสรับรองมาให้ ผู้ที่ถูกส่งมาคือ บาทหลวงแห่งแวร์มงด์ ผู้นิยมในยุคแสงสว่าง และผู้นิยมศาสตร์แห่งการคัดตัวหนังสือ เขาจะเป็นผู้ที่แก้ไขข้อบกพร่องทางการศึกษาของมารี อองตัวเนต
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) มาร์กีแห่งดูร์ฟอร์ต ได้มาสู่ขอมารี อองตัวเนตเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส จักรพรรดินีมารี-เทเรส แห่งออสเตรียรีบตกปากรับคำ ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสที่เคร่งศาสนาได้คัดค้านการหมั้นหมายดังกล่าวที่ดำเนินการโดยดยุคแห่งชัวเซิล เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เนื่องจากจะเป็นการเ้อื้อประโยชน์กับออสเตรีย ศัตรูตลอดกาล พวกเขาได้เรียกพระชายาของมกุฎราชกุมารแล้วว่า ผู้หญิงออสเตรีย
มกุฎราชกุมารี
เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) มารี อองตัวเนต ได้ประกาศสละสิทธิ์ในการเป็นอาร์คดัชเชสของราชสำนักออสเตรียอย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พระนางได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซาย ในวันเดียวกันนี้เอง ได้มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น เมื่อบรรดาเจ้าหญิงแห่งแคว้นลอเรนน์ของฝรั่งเศส ได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นพระญาติกับองค์มกุฎราชกุมาร เพื่อให้ได้เต้นรำกับพระองค์ก่อนบรรดาอาร์คดัชเชสจากออสเตรียที่มาร่วมงาน ท่ามกลางความกังวลของเหล่าผู้ดีทั้งหลาย ที่ได้มีการซุบซิบนินทาต่อต้าน "ผู้หญิงออสเตรีย" กันแล้ว และในเย็นวันนั้นเอง มีประชาชน 132 คนขาดใจตายกลางท้องถนน ในระหว่างพิธีเฉลิมฉลองงานมงคลอภิเษกสมรส
มกุฎราชกุมารีผู้เยาว์ชันษาทรงมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ในรั้วในวังของฝรั่งเศส พระสวามีของพระนางตีตนออกห่าง โดยการหนีไปออกป่าล่าสัตว์แต่เช้าตรู่ (ทั้งคู่เริ่มมีสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาอย่างแท้จริง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2316) พระนางต้องทนทุกข์กับการปรับตัวเข้ากับพระราชพิธี และขนบประเพณีแบบฝรั่งเศส และทรงเกลียดการใช้ชีวิตกับผู้คนรอบข้าง นอกจากนั้นแล้ว พระนางยังได้รับคำปรึกษาทางไกลจากกรุงเวียนนา โดยการเขียนจดหมายโต้ตอบมากมายหลายฉบับกับพระมารดา และกับท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำกรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศส ท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโตเป็นผู้เดียวที่พระนางสามารถวางพระทัยได้ เนื่องจากดยุคแห่งชัวเซิลได้ถูกปลดจากตำแหน่งภายในเวลาไม่ถึงปีหลังการอภิเษกสมรส จากแผนการอันซับซ้อนซ่อนเงื่อนของมาดาม ดู บาร์รี พระสนมผู้ทรงอิทธิพลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จดหมายโต้ตอบกับท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลชิ้นเยี่ยม ที่จะอธิบายชีวิตโดยละเอียดของมารี อองตัวเนตภายหลังการอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) จนกระทั่งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระนางมารี-เทเรสที่หนึ่ง พระมารดาในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780)
ขึ้นครองราชย์
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต และพระนางมารี อองตัวเนต ได้ทรงขึ้นเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศส และแห่งนาแวร์ แต่พฤติกรรมของพระนางไม่ได้เปลี่ยนไปเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) เป็นต้นมา กระแสต่อต้านพระนางเริ่มแพร่สะพัด พระนางถูกรายล้อมด้วยพระสหายสนิทจำนวนหนึ่ง (เจ้าหญิงแห่งลอมบาลล์ บารอนแห่งเบอซองวาล ดยุคแห่งควงยี รวมถึงโยลองด์ เดอ โปลาสตรง กับเคานท์เตสแห่งโปลินยัก) ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้แก่นางสนมคนอื่นๆ ด้วยการจัดหาเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจำนวนมาก จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือย และจัดเกมการละเล่นที่มีเงินเดิมพันจำนวนมหาศาล
เมื่อทรงพระเยาว์ ที่กรุงเวียนนา
ธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดยุคใหญ่แห่งแคว้นทัสคานี (แห่งราชสำนักลอเรนน์) กับสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทรีซาแห่งออสเตรีย มารี อองตัวเนตดำรงพระยศเป็น กษัตริย์ แห่งฮังการี และราชินีแห่งแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย (แห่งราชสำนักฮับสบูร์ก) พระนางประสูติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) เป็นธิดาองค์ที่ 15 และก่อนองค์สุดท้ายของพระบิดาและพระมารดา พระนางถูกเลี้ยงดูโดยอายาส เหล่าข้าราชบริพารของราชสำนัก (มาดาม เดอ บร็องเดส และต่อมาโดยมาดาม เดอ เลอเชนเฟลด์ ผู้เข้มงวด) ภายใต้การสอดส่องดูแลอย่างเข้มงวดของจักรพรรดินี ผู้มีแนวความคิดล้าหลังเกี่ยวกับการเลี้ยงดูโอรสและธิดา ด้วยการควบคุมสุขอนามัย และกระยาหารอย่างเข้มงวด และการทรมานร่างกายด้วยกิจกรรมหนักหน่วง มารี อองตัวเนตเติบโตขึ้นที่พระราชวังฮอฟบูร์กในกรุงเวียนนา และ ปราสาทชอนบรุนน์ การศึกษาของพระนางค่อนข้างถูกปล่อยประละเลย (หรือในอีกแง่หนึ่ง คือถูกเลี้ยงมาแบบง่ายๆกว่าการเลี้ยงดูราชนิกูลในราชสำนักฝรั่งเศส ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ห่างไกลจากกฎเกณฑ์ทั้งปวงของราชสำนัก เกือบจะแบบชาวบ้านธรรมดา) สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบสิบชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้ไม่ดีนัก พูดภาษาฝรั่งเศสได้น้อยนิด และยิ่งถ้าเป็นภาษาอิตาเลียนแล้วพระนางพูดได้น้อยมาก แม้ว่าทั้งสามภาษานั้นจะเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาราชนิกูลของออสเตรียก็ตาม จักรพรรดินีได้บังคับให้พระนางอภิเษกสมรสกับหลานชายคนโตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้มีชันษาใกล้เคียงกัน และในขณะเดียวกัน จักรพรรดินียังใฝ่ฝันจะจัดการอภิเษกอิซาเบล ธิดาอีกองค์ กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้ทรงชราภาพ
เมื่อมารี อองตัวเนตทรงเจริญพระชนมายุได้ 13 ชันษา จักรพรรดินีที่ขณะนั้นทรงเป็นหม้าย ได้ทรงสนพระทัยเพิ่มขึ้นในด้านการศึกษาของโอรสธิดา เพื่อจะได้สามารถจัดการอภิเษกสมรสได้ อาร์คดัชเชสมารี อองตัวเนต ได้หัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด กับ คริสตอฟ วิลบัลด์ กลุค (คีตกวีชื่อดัง) และเรียนนาฏศิลป์ฝรั่งเศสกับโนแวร์ เมื่อพระมารดาต้องเลือกระหว่างนักแสดงสองคนเพื่อให้มารี อองตัวเนตหัดการอ่านออกเสียง และร้องเพลง เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้ทัดทานอย่างเป็นทางการ เนื่องจากเห็นว่านักแสดงไม่มีคุณสมบัติพอ มารี-เทเรซา แห่งออสเตรีย จึงได้ขอให้เขาจัดหาครูที่ราชสำนักฝรั่งเศสรับรองมาให้ ผู้ที่ถูกส่งมาคือ บาทหลวงแห่งแวร์มงด์ ผู้นิยมในยุคแสงสว่าง และผู้นิยมศาสตร์แห่งการคัดตัวหนังสือ เขาจะเป็นผู้ที่แก้ไขข้อบกพร่องทางการศึกษาของมารี อองตัวเนต
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) มาร์กีแห่งดูร์ฟอร์ต ได้มาสู่ขอมารี อองตัวเนตเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส จักรพรรดินีมารี-เทเรส แห่งออสเตรียรีบตกปากรับคำ ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสที่เคร่งศาสนาได้คัดค้านการหมั้นหมายดังกล่าวที่ดำเนินการโดยดยุคแห่งชัวเซิล เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เนื่องจากจะเป็นการเ้อื้อประโยชน์กับออสเตรีย ศัตรูตลอดกาล พวกเขาได้เรียกพระชายาของมกุฎราชกุมารแล้วว่า ผู้หญิงออสเตรีย
มกุฎราชกุมารี
เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) มารี อองตัวเนต ได้ประกาศสละสิทธิ์ในการเป็นอาร์คดัชเชสของราชสำนักออสเตรียอย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พระนางได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซาย ในวันเดียวกันนี้เอง ได้มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น เมื่อบรรดาเจ้าหญิงแห่งแคว้นลอเรนน์ของฝรั่งเศส ได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นพระญาติกับองค์มกุฎราชกุมาร เพื่อให้ได้เต้นรำกับพระองค์ก่อนบรรดาอาร์คดัชเชสจากออสเตรียที่มาร่วมงาน ท่ามกลางความกังวลของเหล่าผู้ดีทั้งหลาย ที่ได้มีการซุบซิบนินทาต่อต้าน "ผู้หญิงออสเตรีย" กันแล้ว และในเย็นวันนั้นเอง มีประชาชน 132 คนขาดใจตายกลางท้องถนน ในระหว่างพิธีเฉลิมฉลองงานมงคลอภิเษกสมรส
มกุฎราชกุมารีผู้เยาว์ชันษาทรงมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ในรั้วในวังของฝรั่งเศส พระสวามีของพระนางตีตนออกห่าง โดยการหนีไปออกป่าล่าสัตว์แต่เช้าตรู่ (ทั้งคู่เริ่มมีสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาอย่างแท้จริง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2316) พระนางต้องทนทุกข์กับการปรับตัวเข้ากับพระราชพิธี และขนบประเพณีแบบฝรั่งเศส และทรงเกลียดการใช้ชีวิตกับผู้คนรอบข้าง นอกจากนั้นแล้ว พระนางยังได้รับคำปรึกษาทางไกลจากกรุงเวียนนา โดยการเขียนจดหมายโต้ตอบมากมายหลายฉบับกับพระมารดา และกับท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำกรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศส ท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโตเป็นผู้เดียวที่พระนางสามารถวางพระทัยได้ เนื่องจากดยุคแห่งชัวเซิลได้ถูกปลดจากตำแหน่งภายในเวลาไม่ถึงปีหลังการอภิเษกสมรส จากแผนการอันซับซ้อนซ่อนเงื่อนของมาดาม ดู บาร์รี พระสนมผู้ทรงอิทธิพลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จดหมายโต้ตอบกับท่านเค้าท์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลชิ้นเยี่ยม ที่จะอธิบายชีวิตโดยละเอียดของมารี อองตัวเนตภายหลังการอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) จนกระทั่งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระนางมารี-เทเรสที่หนึ่ง พระมารดาในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780)
ขึ้นครองราชย์
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต และพระนางมารี อองตัวเนต ได้ทรงขึ้นเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศส และแห่งนาแวร์ แต่พฤติกรรมของพระนางไม่ได้เปลี่ยนไปเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) เป็นต้นมา กระแสต่อต้านพระนางเริ่มแพร่สะพัด พระนางถูกรายล้อมด้วยพระสหายสนิทจำนวนหนึ่ง (เจ้าหญิงแห่งลอมบาลล์ บารอนแห่งเบอซองวาล ดยุคแห่งควงยี รวมถึงโยลองด์ เดอ โปลาสตรง กับเคานท์เตสแห่งโปลินยัก) ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้แก่นางสนมคนอื่นๆ ด้วยการจัดหาเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจำนวนมาก จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือย และจัดเกมการละเล่นที่มีเงินเดิมพันจำนวนมหาศาล
ชีวิตในราชสำนัก
มารี อองตัวเนต พยายามมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือพระมหากษัตริย์ ด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีเป็นว่าเล่นตามพระทัย หรือไม่ก็ด้วยคำแนะนำของพระสหายผู้จะได้รับประโยชน์ พระนางต้องเดือดร้อนจากการเข้าไปพัวพันกับคดีกีเนส (เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงลอนดอน ผู้ถูกกล่าวหาว่าวางแผนผลักดันฝรั่งเศสเข้าร่วมสงคราม)เนื่องด้วยขาดความยั้งคิด ส่งผลให้พระนางสั่งปลดตูร์โกต์ในกาลต่อมา บารอนพิชเลอร์ ราชเลขาของพระนางมารี-เทเรสที่หนึ่ง ได้ให้ความเห็นโดยรวมอย่างสุภาพด้วยการบันทึกไว้ว่า :
"พระนางไม่ต้องการจะปกครอง หรืออำนวยการ หรือแม้แต่ชี้นำเรื่องใดๆก็ตาม สิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่พระนางคิดคำนึงมาตลอดเวลาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระนางไม่ค่อยคิดเรื่องอื่นเท่าไรนัก และอุปนิสัยรักอิสระของพระนางเป็นข้อพิสูจน์ที่เพียงพอแล้ว เนื่องจากพระนางจะสนพระทัยเฉพาะสิ่งบันเทิงเริงรมย์ หรือไม่ก็เรื่องไร้สาระ"
กลุ่มคนที่ต่อต้านพระนางได้รวมตัวกันตั้งแต่เมื่อพระนางขึ้นสู่ราชบัลลังก์ มีการแจกใบปลิวกล่าวหาว่าพระนางมีชายชู้ (ท่านเค้าท์แห่งอาร์ตัว พระเชษฐาเขย และท่านเค้าท์ฮาน แอกเซล เดอ เฟอเสน หรือแม้กระทั่งว่าพระนางมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสตรี (โยลองด์ เดอ โปลาสตรง และเค้าท์เตส เดอ โปลินยัก) มีการใช้จ่ายเงินสาธารณะอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อการบันเทิงเริงรมย์ และเป็นฝ่ายหนุนหลังออสเตรียที่ตอนนั้นถูกปกครองโดยพระเจ้าโจเซฟที่สอง แห่งออสเตรีย พระเชษฐาของพระนาง แต่ก็ต้องกล่าวว่า พระนางได้ทำทุกวิถีทางที่จะต่อสู้กับพวกต่อต้านออสเตรีย ด้วยการปลดดยุคแห่งเอกุยยง และแต่งตั้งดยุคแห่งชัวเซิลขึ้นแทน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ พระราชวังแวร์ซายร้างจากผู้คน พวกนางสนมที่ราชินีหวาดระแวงได้หนีหน้าหายไปเนื่องด้วยไม่สามารถสนับสนุนรายจ่ายที่เกิดจากชีวิตอันหรูหราในราชสำนักได้
ในที่สุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) มารี อองตัวเนตได้มีประสูติกาลพระธิดาองค์แรก ที่มีพระนามว่า มารี-เทเรสแห่งฝรั่งเศส (ชาตะ พ.ศ. 2321 - มรณะ พ.ศ. 2394) หรือมีชื่อเล่นว่า "มาดามรัวยาล" และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ก็ถึงคราวให้กำเนิดเจ้าชายหลุยส์-โจเซฟ มกุฎราชกุมาร แต่ประสูติกาลเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลดีแก่พระนางมารี อองตัวเนต เนื่องจากมีผู้กล่าวหาว่าโอรสธิดานั้นไม่ได้มีเชื้อสายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางได้หันกลับมาใช้ชีวิตที่สนุกสนานเช่นเดิมอย่างรวดเร็ว และได้เฝ้าดูการก่อสร้างหมู่บ้านชนบทที่พระราชวังแวร์ซาย ให้เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่พระนางเชื่อว่าทำให้ได้ค้นพบชีวิตชาวนาอันผาสุก ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) พระนางได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่สอง มีพระนามว่าเจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล ดำรงตำแหน่งดยุคแห่งนอร์มงดี
คดีสร้อยพระศอ
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวในคดีสร้อยพระศอของพระนางมารี อองตัวเนต เมื่อนายโบห์แมร์เรียกร้องเงินจำนวน หนึ่งล้านห้าแสนปอนด์จากองค์ราชินี เป็นค่าสร้อยคอเพชรที่พระคาร์ดินัล เดอ โรออง เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำขึ้นในนามของราชินี มารี อองตัวเนตยืนยันที่จะให้จับกุมพระคาร์ดินัล แล้วเรื่องก็แดงขึ้นมา องค์กษัตริย์ได้มอบหมายให้รัฐสภาจัดการเรื่องนี้ ที่ในที่สุดก็ทราบตัวการ คือคู่รักที่อ้างว่าเป็นเค้าท์และเค้าท์เตสมอธ ที่ไปหลอกลวงพระคาร์ดินัลโรอองผู้บริสุทธิ์อีกต่อหนึ่ง แม้ว่าสมเด็จพระราชินีจะไม่มีความผิดเช่นกัน แต่ก็เสียพระเกียรติเป็นอันมาก เมื่อพระนางขอให้พระมหากษัตริย์เบิกตัวพระคาร์ดินัลเดอ โนไอญ์ และให้ส่งตัวพระนางไปลี้ภัยในที่สังฆมณฑลแห่งหนึ่งของพระคาร์ดินัลนี้
มารี อองตัวเนตได้ทราบถึงชื่อเสียงที่เสื่อมเสียของพระนางในที่สุด และได้พยายามตัดลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าปรับปรุงพระตำหนักของพระนาง ซึ่งก่อให้เกิดเรื่องอื้อฉาวระลอกใหม่ขึ้นในพระราชวัง เมื่อพระสหายโปรดเห็นว่าพวกเขาไม่มีภาระหน้าที่อีกต่อไป พระนางทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ พระนางยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป และได้รับการขนานพระนามว่า "มาดามหนี้ท่วมหัว" และมีคนกล่าวหาพระนางว่าเป็นต้นเหตุของการต่อต้านรัฐสภาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 รวมทั้งการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีหลายคนโดยไม่มีเหตุผลสมควร อันที่จริงแล้ว ในปี พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788) พระนางเป็นผู้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปลดนายโลเมนี เดอ เบรียนน์ผู้เสื่อมความนิยม และแต่งตั้งนายชัค เนคแกร์ขึ้นแทน แต่การกระทำดังกล่าวก็สายไปที่จะกอบกู้ชื่อเสียงคืนมา
การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332
ในปี พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) สถานการณ์ขององค์ราชินีเลวร้ายลงมาก มีเสียงเล่าลือว่าคุณผู้ชาย (พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ในอนาคต) จะยื่นเรื่องต่อสภาบุคคลชั้นสูงในปี พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1787) เพื่อขอพิสูจน์สายเลือดของโอรสธิดาของกษัตริย์ ข่าวลือยังอ้างด้วยว่าองค์ราชินีได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองวัล-เดอ-กราซ ชานกรุงปารีส บาทหลวงซูลาวี ได้เล่าไว้ใน บันทึกประวัติศาสตร์และการเมืองในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่า "พระนางได้นำเอาความโชคร้ายของสาธารณะชนไปกับพระนางด้วย และทางราชสำนักก็มีชีวิตชีวาขึ้น และได้รับการฟื้นฟูขึ้นโดยทันทีทันใด จากการที่พระนางเสด็จแปรพระราชฐานเพียงอย่างเดียว"
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) ได้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาของกษัตริย์ขึ้น ระหว่างพิธีมิสซาเพื่อการเปิดสภาอย่างเป็นทางการ สาธุคุณเดอ ลา ฟาร์ ผู้อยู่บนบัลลังก์สงฆ์ ได้กล่าวประนามมารี อองตัวเนตอย่างเปิดเผย ด้วยการตีแผ่การใช้ชีวิตในราชสำนักอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย และยังกล่าวว่าผู้ที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตหรูหราดังกล่าวได้หลบไปหาความสำราญด้วยการ ใช้ชีวิตเลียนแบบธรรมชาติอย่างไร้เดียงสา อันเป็นคำประชดประชันแดกดันด้วยการเปรียบเปรยถึงชีวิตในพระตำหนักเปอติ ทรีอานง บ้านไร่ในพระราชวังแวร์ซายที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สร้างขึ้นเพื่อมอบให้กับพระนางมารี อองตัวเนต (ตามที่เขียนไว้ใน บันทึกเกี่ยวกับคณะสมาชิกสภา ของ อาเดรียง ดูเกสนัว)
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน มกุฏราชกุมารพระองค์น้อยได้สิ้นพระชนม์ลง ได้มีการจัดพิธีพระศพขึ้นที่วิหารน้อยซังต์-เดอนีส์เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย กิจกรรมทางการเมืองไม่อนุญาตให้เชื้อพระวงศ์ไว้ทุกข์ได้อย่างสะดวกนัก มารี อองตัวเนต ผู้ซึ่งปั่นป่วนพระทัยจากเหตุการณ์นี้ และเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ในที่ประชุมสภาที่ปรึกษากษัตริย์ จึงปักใจเชื่อในแนวคิดต่อต้านการปฏิวัติ ในเดือนกรกฎาคม พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้สั่งปลดนายชาก เนกแกร์ องค์ราชินีได้เผาเอกสารต่างๆ และรวบรวมเพชรนิลจินดาของพระนาง และกราบทูลโน้มน้าวให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เสด็จออกจากพระราชวังแวร์ซายไปหลบในปราสาทที่เป็นป้อมปราการแข็งแกร่งกว่านี้ ห่างไกลจากกรุงปารีส หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) หน้งสือต่อต่านระบอบกษัตริย์ถูกแจกจ่ายไปทั่วกรุงปารีส ผู้ใกล้ชิดพระนางถูกหมายหัว และพระเศียรของมารี อองตัวเนตถูกตั้งราคาไว้ มีคนกล่าวหาพระนางว่าต้องการลอบวางระเบิดรัฐสภาและต้องการส่งทหารเข้ามาในกรุงปารีส
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวครั้งใหม่ขึ้น ขณะที่มีงานเลี้ยงพระกระยาหารโต๊ะยาวโดยเหล่าราชองครักษ์จากพระตำหนักทหารขององค์กษัตริย์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้แก่กองทหารเรือจากฟลองเดรอที่เพิ่งกลับมาถึงกรุงปารีส ได้มีการโห่ร้องถวายพระพรแก่องค์ราชินี อีกทั้งประดับประดาสถานที่ด้วยธงชัยสีขาว และธงไตรรงค์ ประชาชนในกรุงปารีสได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับงานพระราชพิธีนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการถวายช่อดอกไม้ ในขณะที่ประชาชนขาดแคลนขนมปัง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ขบวนประท้วงของเหล่าสตรีได้เดินทางมาถึงพระราชวังแวร์ซาย เพื่อเรียกร้องขอขนมปัง โดยกล่าวว่าพวกเขากำลังเดินทางไปหา คนทำขนมปังชาย (พระมหากษัตริย์) และคนทำขนมปังหญิง (องค์ราชินี) รวมทั้ง บุตรชายของคนทำขนมปัง (มกุฎราชกุมาร) ในเช้าวันรุ่งขึ้น ประชาชนผู้ลุกฮือติดอาวุธด้วยหอกและมีด ได้บุกเข้าไปในพระราชวัง สังหารองครักษ์เพื่อเป็นการข่มขวัญเชื้อพระวงศ์ ทำให้บรรดาเชื้อพระวงศ์จำต้องเดินทางกลับกรุงปารีสโดยมีกองทหารของมาร์กี เดอ ลา ฟาแยต และเหล่าผู้ลุกฮือตามประกบ ระหว่างทาง ได้มีผู้ข่มขู่องค์ราชินีโดยการให้ทอดพระเนตรเชือกเส้นหนึ่ง พร้อมกับกราบทูลว่าจะใช้เสาโคมในกรุงปารีสแขวนคอพระนางด้วยเชือกเส้นนี้
ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม รัฐสภาแห่งชาติได้ประกาศให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย พระองค์ได้ร่วมกับพระนางมารี อองตัวเนตขอความช่วยเหลือจากราชวงศ์ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก กษัตริย์แห่งปรัสเซีย พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งสเปน และพระเจ้าโจเซฟที่ 2 แห่งออสเตรีย พระเชษฐาของพระนางมารี อองตัวเนต แต่กษัตริย์แห่งเสปนได้ตอบกลับอย่างคลุมเครือ และเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1790) พระเจ้าโจเซฟที่ 2 แห่งออสเตรียเสด็จสวรรคต ลา ฟาแยตได้แนะนำอย่างเย็นชาให้มารี อองตัวเนตหย่ากับกษัตริย์ ยังมีบางกระแสได้กล่าวอย่างเปิดเผยว่าจะดำเนินคดีกับพระนางเรื่องมีชายชู้ และจับได้ว่าพระนางลอบเป็นชู้กับท่านเค้าท์ ฮาน แอกเซล เดอ เฟอร์เสน
ราวปลายปี พ.ศ. 2333 บารอน เดอ เบรอเตย ได้เสนอแผนการหลบหนี ด้วยการหนีออกจาพระราชวังตุยเลอรี และเข้ายึดป้อมปราการที่เมืองมงต์เมดี ให้กับชายแดน องค์ราชินีต้องอยู่ตามลำพังพระองค์เองมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2333 แมร์ซี-อาร์จองโต ได้ออกจากฝรั่งเศส เพื่อไปรับตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูตแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 กษัตริย์องค์ใหม่แห่งออสเตรีย พระเชษฐาอีกพระองค์ของมารี อองตัวเนต ปฏิเสธที่จะช่วยพระนาง ในวันที่ 7 มีนาคม ได้มีผู้จับได้ว่าแมร์ซี-อาร์จองโต ส่งจดหมายถึงพระนาง และได้นำเรื่องให้คณะปฏิวัติดำเนินการ จึงเกิดเป็นเรื่องอื้อฉาวขึ้นว่า นั่นเป็นหลักฐานว่าพระนางได้มีส่วนพัวพันกับ "คณะกรรมาธิการออสเตรีย" และได้เจรจาจะขายชาติให้กับประเทศออสเตรีย
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน กลุ่มก่อการปฏิวัติได้บุกกรุงปารีส ทันใดนั้นเอง ชาวกรุงปารีสก็พบว่ากษัตริย์กับราชินีได้หลบหนีไปแล้ว แต่มาร์ควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ได้โน้มน้าวให้กลุ่มก่อการปฏิวัติเชื่อว่ากษัตริย์ถูกกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติลักพาตัวไป พระราชวงศ์ที่หลบไปนอกกรุงปารีสไม่จำเป็นต้องซ่อนตัวอีกต่อไป แต่โชคร้ายที่ราชรถของพวกพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อองตัวเนตมาถึงช้าไปกว่าสามชั่วโมง และเมื่อพวกเขามาถึงจุดนัดพบจุดแรก ที่จุดแวะพักปงต์-เดอ-ซอม-เวสเลอ กองทหารที่จะมาช่วยได้จากไปเสียแล้ว โดยคิดว่าพระมหากษัตริย์เปลี่ยนพระทัย ก่อนจะถึงเที่ยงวันเล็กน้อย ราชรถถูกจับได้ที่เมืองวาเรนน์-ออง-อาร์กอนน์ เนื่องจากเจ้าของจุดแวะพักจุดก่อนจำพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ เขาลังเลอยู่ครู่หนึ่ง ไม่มีใครทราบว่าจะทำอย่างไรดี และในขณะนั้นเอง ได้มีฝูงชนหลั่งไหลมาที่เมืองวาเรนน์ ท้ายที่สุด ราชวงศ์ที่กำลังถูกคุกคาม ได้ถูกนำตัวกลับไปยังกรุงปารีส ภายใต้บรรยากาศโหดร้ายอันเรียบเชียบเงียบงัน
ภายหลังเหตุการณ์ที่เมืองวาเรนน์
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกไต่สวนโดยคณะผู้แทนของสภาแห่งชาติ พระองค์ได้ตอบคำถามอย่างคลุมเครือ คำตอบที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก จนมีกระแสเรียกร้องให้ถอดถอนพระองค์จากตำแหน่งกษัตริย์ ทางด้านพระนางมารี อองตัวเนตได้พบกับอองตวน บาร์นาฟ อย่างลับๆ โดยต้องการโน้มน้าวให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยอมรับตำแหน่งกษัตริย์ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในที่สุด เมื่อวันที่ 13 กันยายน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ยอมรับระบอบประชาธิปไตย และในวันที่ 30 กันยายน ได้มีการยุบสภาที่ปรึกษากษัตริย์ และตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นมาแทนที่ แต่อย่างไรก็ดี ข่าวการทำสงครามกับราชวงศ์ของประเทศเพื่อนบ้านได้แพร่สะพัดไปทั่ว ในบรรดาเชื้อพระวงศ์ของยุโรปทั้งหมด ออสเตรียทำให้ชาวฝรั่งเศสรู้สึกกดดันที่สุด ประชาชนจึงได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านมารี อองตัวเนตและเรียกพระนางว่าเป็น "นางปิศาจ" หรือไม่ก็ "มาดามผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมาย" และยังกล่าวโทษว่าพระนางเป็นผู้ทำให้เมืองหลวงนองไปด้วยเลือด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) คำแถลงการณ์แห่งบรุนส์วิก ที่ได้รับแรงบันดาลใจส่วนใหญ่มาจากท่านเคานท์ ฮาน แอกเซล เดอ เฟอร์เสน ได้จุดเพลิงแค้นของประชาชนชาวฝรั่งเศสได้สำเร็จในที่สุด
ประชาชนได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ด้วยการบุกพระราชวังตุยเลอรี พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จำต้องลี้ภัยในสภาคณะปฏิวัติแห่งชาติ ที่ต่อมาได้ลงคะแนนให้ถอดถอนพระองค์ชั่วคราว และให้พระองค์เสด็จไปประทับที่คอนแวนต์ของนิกายเฟยยองต์ วันรุ่งขึ้น เชื้อพระวงศ์ก็ถูกนำตัวมาไว้ที่ห้องขังของโบสถ์ ระหว่างการสังหารหมู่เชื้อพระวงศ์ในเดือนกันยายน เจ้าหญิงแห่งลอมบาลล์ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดเพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู และพระเศียรของเจ้าหญิงถูกเสียบไว้ที่ปลายหอกและตั้งไว้นอกหน้าต่างห้องที่ประทับของพระนางมารี อองตัวเนต ไม่นานต่อมา หลังจากที่สงครามได้เริ่มขึ้น สภาคณะปฏิวัติได้ประกาศให้เชื้อพระวงศ์ตกอยู่ในฐานะตัวประกัน ราวต้นเดือนธันวาคม ได้มีการค้นพบ"เสื้อเกราะเหล็ก"ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใช้ซ่อนเอกสารลับของพระองค์ จึงจำเป็นต้องจัดการไต่สวนคดีขึ้นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม สภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้ลงมติให้ประหารกษัตริย์ ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16ถูกประหารเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม แมกซิมิเลียง เดอ โรปสปิแยร์ได้เรียกร้องกับสภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ให้จัดการกับราชินีอีกองค์ วันที่ 13 กรกฎาคม องค์มกุฎราชกุมารก็ถูกลักพาตัวไปจากพระมารดาและถูกมอบให้อยู่ในความดูแลของอองตวน ซิมง ช่างทำรองเท้า และในวันที่ 2 สิงหาคม ก็ถึงคราวที่พระนางมารี อองตัวเนตถูกพรากจากเหล่าเจ้าหญิงและนำตัวไปยังทัณฑสถานกรุงปารีส การไต่สวนพระนางจะเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้น
การพิจารณาคดี
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2336 มารี อองตัวเนตถูกตั้งข้อหาโดยศาลปฏิวัติ โดยฟูกิเยร์-ทังวิลล์ ผู้ฟ้องร้องแทนประชาชน หากแม้นว่าการพิจารณาคดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังคงไว้ซึ่งกระบวนการยุติธรรม การพิจารณาคดีของราชินีมิได้เป็นเช่นนั้นเลย ได้มีการทำสำนวนฟ้องขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากนายฟูกิเยร์ เดอ ทังวิลล์ไม่สามารถหาเอกสารของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พบทุกชิ้น และเพื่อให้สามารถตั้งข้อกล่าวหาแก่พระนางมารี อองตัวเนตได้ เขามีแผนที่จะให้มกุฎราชกุมารขึ้นให้การต่อศาลในทางเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมารดา ซึ่งต่อหน้าศาล มกุฎราชกุมารพระองค์น้อยได้กล่าวหาพระมารดา และพระมาตุจฉาว่าเป็นผู้สอนให้พระองค์สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง และบังคับให้เล่นเกมสวาท พระนางมารี อองตัวเนตผู้เสื่อมเสียพระเกียรติได้เรียกราชเลขามาขึ้นให้การ พระนางพ้นจากการถูกรุมประชาทัณฑ์ได้อย่างเส้นยาแดงผ่าแปด แต่พระนางยังถูกตั้งข้อกล่าวหาอีกว่าสมรู้ร่วมคิดกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติ และเมื่อพระนางยังคงยืนกรานความบริสุทธิ์ นายแอร์มานน์ ประธานศาลปฏิวัติ ได้กล่าวว่าพระนางเป็น "ตัวการสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการทรยศต่อหลุยส์ คาเปต์" คดีนี้จึงกลายเป็นการพิจารณาคดีของทรราชไป บทนำของสำนวนฟ้องยังกล่าวอีกด้วยว่า:
"จากการพิจารณาเอกสารทั้งหมดที่ยื่นโดยผู้ฟ้องร้องแทนประชาชน ผลปรากฏว่า ในบรรดาราชินีทั้งหลาย เป็นต้นว่า เมสซาลีน บรูเนอโอ เฟรเดกองด์ และมารี เดอ เมดิซี ที่เมื่อก่อนเรายอมรับว่าเป็นราชินีของฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีชื่อเสื่อมเสียไม่อาจลบล้างได้จากประวัติศาสตร์ นับได้ว่ามารี อองตัวเนต หญิงหม้ายของหลุยส์ คาเปต์ เป็นผู้มีความละโมบเป็นที่สุด และเป็นหายนะอันใหญ่หลวงของชาวฝรั่งเศส"
พวกพยานที่จัดหามาดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าที่ควร พระนางมารี อองตัวเนตให้การตอบว่า พระนาง "เป็นเพียงแค่ภรรยาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เท่านั้น และพระนางก็ทำอะไรตามพระทัยของพระนางเอง" นายฟูกิเยร์-ทังวิลล์ ได้เรียกร้องให้ประหารพระนางและกล่าวหาว่าพระนางเป็น"ศัตรูอย่างเปิดเผยของชาติฝรั่งเศส" ทางด้านนายทรองซง-ดือคูเดรย์ และนายโชโว-ลาการ์ด ทนายความสองคนของพระนางมารี อองตัวเนต ยังหนุ่มและขาดประสบการณ์ อีกทั้งยังไม่ได้เห็นเอกสารฟ้องก่อนขึ้นว่าความ ทำได้แค่เพียงอ่านออกเสียงบันทึกไม่กี่หน้าที่ตนได้จดเอาไว้
คณะลูกขุนต้องตอบถามคำถามสี่ข้อด้วยกัน:
" 1. จริงหรือไม่ที่ได้มีการคบคิดและมีการและเปลี่ยนข่าวกรองกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติ และศัตรูอื่นๆ นอกสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยที่การคบคิดและข่าวกรองดังกล่าวนั้นมีจุดมุ่งหมายให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ให้พวกนั้นเข้ามาในดินแดนฝรั่งเศส และให้พวกนั้นพัฒนาอาวุธได้?"
"2. มารี อองตัวเนตแห่งออสเตรีย (...) เราเชื่อว่านางได้มีส่วนร่วมมือกับการคบคิดและสนับสนุนการข่าวกรองดังกล่าวหรือไม่?"
"3. จริงหรือที่มีแผนการสมรู้ร่วมคิดและแผนข่าวโคมลอยที่พยายามจุดชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองภายในสาธารณรัฐฝรั่งเศส?"
"4. เราเชื่อว่ามารี อองตัวเนตได้มีส่วนร่วมในแผนสมรู้ร่วมคิดและข่าวโคมลอยนี้หรือไม่?"
คณะลูกขุนได้ตอบว่าคำถามดังกล่าวว่าจริงและใช่ทุกข้อ มารี อองตัวเนตจึงถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อเป็นทรราชขั้นร้ายแรงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ประมาณเวลาสี่นาฬิกาของรุ่งเช้า ในวันเดียวกันนั้นเอง เมื่อเวลาสิบสองนาฬิกาสิบห้านาที พระนางถูกประหารด้วยกิโยติน หลังจากที่ได้ปฏิเสธจะสารภาพบาปกับบาทหลวงที่คณะปฏิวัติจัดหาให้ ศพของพระนางถูกฝังในหลุมฝังศพลา มาเดอเลน บนถนนอองจู-ซังต์-ตอนอเร ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) พระศพของพระนางถูกขุดขึ้นมา และถูกย้ายไปฝังไว้ที่วิหารซังต์ เดอนีส์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม
vocabulary
Archduchess (n.) ภรรยาของ Archduke เจ้าหญิงออสเตรีย
moral (adj.) เกี่ยวศีลธรรม
environment (n.) สิ่งแวดล้อม
empress (n.) จักรพรรดินี
upbringing (n.) การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน
governess (n.) ผู้ปกครองที่เป็นหญิง
spoil (n.) ทำให้เสื่อมเสีย ทำอันตราย
neglect (n.) ไม่สนใจ ทอดทิ้ง ละเลย ไม่เอาใจใส่
failure (n.) ความล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ
surround (vt.) โอบล้อม แวดล้อม
attendant (n.) ผู้ดูแล ผู้รับใช้
corset (n.) เสื้อรัดลำตัวของสตรี เสื้อยกทรงรัดรูปสตรี
doubtful (adj.) สงสัย ไม่แน่ใจ
prostitute (adj.) โสเภเณี บุคลที่ขายศักดิ์ศรีตัวเอง
moral (adj.) เกี่ยวศีลธรรม
environment (n.) สิ่งแวดล้อม
empress (n.) จักรพรรดินี
upbringing (n.) การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน
governess (n.) ผู้ปกครองที่เป็นหญิง
spoil (n.) ทำให้เสื่อมเสีย ทำอันตราย
neglect (n.) ไม่สนใจ ทอดทิ้ง ละเลย ไม่เอาใจใส่
failure (n.) ความล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ
surround (vt.) โอบล้อม แวดล้อม
attendant (n.) ผู้ดูแล ผู้รับใช้
corset (n.) เสื้อรัดลำตัวของสตรี เสื้อยกทรงรัดรูปสตรี
doubtful (adj.) สงสัย ไม่แน่ใจ
prostitute (adj.) โสเภเณี บุคลที่ขายศักดิ์ศรีตัวเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)